วันอังคาร, กรกฎาคม 22, 2568

มองหาศักดิ์ศรี สว.เสียงข้างมาก 'สีน้ำเงิน' อยู่ที่ไหน ดึงดันโหวตตั้ง ๒ ตลก.รธน. ๑ กกต. ทั้งๆ พวกตน ๑๓๘ คน ยังอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี 'คดโกง'

ถ้าเปรียบเทียบ สว.ยุคสีน้ำเงินนี้กับ สนช.ของคณะรัฐประหาร เหมือนกันเด๊ะทั้งบทบาทและศักดิ์ศรี คือทำตามที่เจ้าของคอกสั่งท่าเดียว ต่างก็แต่เจ้าของคอกรุ่นก่อนใช้กำลังทางกายภาพขับเคลื่อน ทว่ารุ่นนี้มีแต่เล่ห์กลโกงเป็นสรณะ

บทบาท สว.สีน้ำเงินล่าสุดเห็นชัดว่าใช้ชั้นเชิงดึงดันไปอย่างหน้าด้านๆ ในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ๓ ราย ทั้งๆ ที่ผู้ให้ความเห็นชอบเหล่านี้ ล้วนกำลังถูกไต่สวนพฤติกรรมคดโกงฐาน ฮั้ว กันในกระบวนการเลือก

ทั้งสุธรรม เชื้อประกอบกิจ และสราวุธ ทรงวิไล ซึ่งได้รับความเห็นชอบในตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กับณรงค์ กลั่นวารินทร์ ในตำแหน่งกรรมการเลือกตั้ง ต่างจะมีมลทินติดตัวไปสู่ตำแหน่ง ว่าได้รับแต่งตั้งมาโดยมิชอบ หรืออย่างน้อยๆ ด้วยเล่ห์ กลโกง

จำนวน สว.สนับสนุนในมติ “ไม่ชะลอกระบวนการเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ” ๑๓๐ เสียง ก็พอๆ กับจำนวน สว.๑๓๘ คนที่กำลังถูกดำเนินคดีอยู่ แม้นว่าเสียงเห็นชอบให้ชะลอกระบวนการไว้ก่อน ตามที่ เทวฤทธิ์ มณีฉาย ยื่นกระทู้ด่วน

และ สว.นันทนา นันทวโรภาส ได้อภิปรายอย่างเหนียวแน่นว่า ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งถ้าวุฒิสภาจะยังคงเดินหน้าให้ความเห็นชอบต่อการแต่งตั้งตุลาการและกรรมการองค์กรอิสระทั้งสาม “มันจะเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์โดยชัดเจน”

เท่ากับว่า สว.ที่ถูกกล่าวหาไม่สนใจว่าพวกตนจะกำลังทำผิด หรือบิดเบือนกฎหมาย เพื่อฉกชิงความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ฝ่ายตน โดย “ไม่เห็นหัวของประชาชน” ที่มีแต่ความเคลือบแคลงว่า จงใจลุแก่อำนาจเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตน

อากัปอาการของ สว.เหล่านี้เช่นนั้นแสดงออกมาในทางลุกลี้ลุกลน มาตั้งแต่ขั้นตอนสอบประวัติผู้ได้รับการเสนอชื่อ เช่น กรรมาธิการสอบประวัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาเพียง ๔๖ วัน ขณะที่ระเบียบการให้ ๖๐ วันขึ้นไป กับ กกต.ก็เช่นกัน ใช้ ๔๘ วัน

นอกจากนั้นยังใช้วิธีการแถกแถ อ้างว่าจำเป็นต้องรีบตั้งองค์กรอิสระทั้งสาม เพื่อองค์กรทั้งสองจะได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก มิฉะนั้นจะขัดหลักการมาตรา ๑๕๗ ที่เป็นการตีความ กม.อย่างบิดเบือน ข้อนี้ สว.นันทนาชี้แจงแล้วว่า

“การชะลอการแต่งตั้งของ สว.ไม่เข้าข่ายมาตรา ๑๕๗ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะว่าหากคดีสิ้นสุดและ สว.๑๓๘ คนบริสุทธิ์ก็ยังสามารถกลับมาลงมติได้อยู่” อีกทั้งเมื่อครบวาระตำแหน่ง แล้วยังสรรหาคนมาแทนไม่ได้ ชุดเดิมก็ยังรักษาการต่อไปได้

(https://prachatai.com/journal/2025/07/113826 และ https://www.ilaw.or.th/articles/53386) 

ผลสำรวจ #Ipsos บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก ยังพบว่าคนไทย 56% มอง “ประเทศกำลังมาผิดทาง” เพิ่มขึ้น 13% จากปีที่แล้ว 66% เชื่อว่าสังคมไทยกำลังตกอยู่ใน "ภาวะวิกฤติ" และ 60% มองว่าประเทศกำลังอยู่ในภาวะ “ถดถอย” 79% เรียกร้องหาผู้นำที่กล้าหาญพอจะแหกกฏเพื่อแก้ไขปัญหาประเทศ


กรุงเทพธุรกิจ
20 hours ago
·
“คนไทย 56% มองประเทศกำลังมาผิดทาง 66% เชื่อว่าสังคมไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤติ 60% มองว่าประเทศอยู่ในภาวะถดถอย 79% ของคนไทยเรียกร้องหาผู้นำที่กล้าหาญพอจะแหกกฎเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ และ 77% สนับสนุนผู้นำที่เข้มแข็งเพื่อทวงคืนประเทศจากกลุ่มคนร่ำรวยและผู้มีอำนาจ”
.
— อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยรายงาน What Worries Thailand H1 2025 หรือ ความกังวลใจสูงสุดของคนไทยในครึ่งแรกของปี 2568
.
.
(ลิงก์อ่านต่อในคอมเมนต์)https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1190318



Pipob Udomittipong
ผลสำรวจ #Ipsos บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก ยังพบว่าคนไทย 56% มอง “ประเทศกำลังมาผิดทาง” เพิ่มขึ้น 13% จากปีที่แล้ว 66% เชื่อว่าสังคมไทยกำลังตกอยู่ใน "ภาวะวิกฤติ" และ 60% มองว่าประเทศกำลังอยู่ในภาวะ “ถดถอย”
Ipsos คงไม่ได้ไปสำรวจความเห็นของนาย/นางแบก



พอกันทั้งไทยทั้งเขมร อ.สมฤทธิ์ ลือชัย มีข้อเสนอ ป้องกันการยั่วยุ จนกว่าจะหาข้อยุติได้


Somrit Luechai
17 hours ago
·
พอกันทั้งไทยทั้งเขมร
ทำไมต้องไปยั่วยุ
ให้เรื่องมันยุ่งยากไปอีก
เผลอๆจะนำไปสู่การเกิดสงคราม
ผมขอเสนอ
1. ห้ามไม่ให้มีการยั่วยุใดๆ
ในพื้นที่พิพาทไม่ว่าฝ่ายไทยหรือฝ่ายเขมร
2. ถ้าไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้
ควรปิดพื้นที่พิพาทนี้เสีย
แล้วปล่อยให้คณะกรรมการJBCทำงาน
จนกว่าจะหาข้อยุติได้
ขอสันติสุข
จงบังเกิดขึ้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา
ครับ
 
https://www.facebook.com/photo/?fbid=10234597252931601&set=a.10204374337137595



ทำเนียบทองถ่อย


Kasian Tejapira
19 hours ago
·
ทำเนียบทองถ่อย
%%%%
ตกแต่งห้องทองคำค้ำอำนาจ
ดูผิวเผินผุดผาดเหลืองอร่าม
เคลือบโลภร่านถ่อยเถื่อนเหมือนงดงาม
ปิดตาคนจากความอัปลักษณ์
สมวิสัยเศรษฐีที่ห่วยแตก
รสนิยมเหลวแหลกไม่มีหลัก
อยากครองโลกกอบโกยโหยหิวนัก
ถมหัวใจขาดรักไม่รู้พอ

https://www.facebook.com/kasian.tejapira/posts/10238025591081736

.....




The fireplace is cluttered with gold statues.



โหหหห ไม่น่าเชื่อ ! เผย รัฐไทยเป็นหนึ่งในนายจ้างที่เอาเปรียบแรงงานที่สุด จ้างงานด้วยสัญญาทาส


Chutinart Chinudomporn
July 19
·
ค่าครองชีพเฉลี่ยของคนไทยปีนี้ อยู่ที่ 18,000บาท/เดือน
ค่าแรงขั้นต่ำ กำลังจะขึ้นเป็น 400 บาท/วัน หรือคิดเป็น 12,000 บาท/เดือน
คุณคิดว่ากระทรวงสาธารณสุข จ้างคนทำงานเพื่อสุขภาพต่ำสุดกี่บาท?
7,850 บาท/เดือน คือตัวเลขการจ้างงานพนักงานกระทรวง ทำงานหลากหลายงาน พนักงานห้องผ้า พนักงานห้องยา พนักงานขับรถ พนักงานเวรเปล เป็นสัญญาจ้างเหมาสามปี
5,000 บาท/เดือน คือค่าจ้าง Care giver หรือผู้ดูแลติดบ้านติดเตียง ที่สปสช.กำลังจะประกาศ
2,000 บาท/เดือน คือ "ค่าป่วยการ" ของ "อาสาสมัคร" สุขภาพ - อสม. - ตำแหน่งที่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในวงการแพทย์ ว่าจะ "ไปต่อ-พอแค่นี้" สำหรับภาระงานที่หนักขึ้น มีตัวชี้วัด มี application ที่ต้องใช้เพื่อคีย์ข้อมูล มีการอบรม แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่สามารถกำหนดมาตรฐานได้ เพราะ "ไม่ใช่งาน" แต่เป็น "อาสาสมัคร"
พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 4 กำหนดชัดเจนว่าไม่คุ้มครองแรงงานภาครัฐ ตามประกาศของกพ. หรือกระทรวงเองไม่มีมาตรฐานการดูแลแรงงานขั้นต่ำของกระทรวง และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ความพยายามในการแก้ไขเพื่อให้แรงงานภาครัฐที่ไม่ได้มีเเค่แรงงานสาธารณสุข แต่รวมถึงครู แรงงานในมหาวิทยาลัย แรงงานท้องถิ่นต่างๆ นับล้านคน ซึ่งถูกจ้างงานด้วยสัญญาหลากหลาย สิทธิที่แตกต่าง ชั่วโมงการทำงานที่ผิดมนุษย์ และค่าแรงที่ต่ำกว่าแรงงานขั้นต่ำ ยังไม่ได้รับการปกป้อง ถูกปัดตกในรัฐสภาที่มีคนทำงานภาครัฐตัวเล็กตัวน้อยเหล่านี้จับจ้องอยู่ตามที่ต่างๆของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ในภาคของการรวมตัว อาจมีโทษถึงผิดวินัยได้หากนัดรวมตัวหยุดงาน ยังไม่รวมถึงกกฎหมายอาญา ม.117 ที่สามารถจับคนนัดหยุดงานได้โทษหนักถึงขั้นเป็นความมั่นคงของชาติ
ประเทศไทยกำลังเข้าเจรจา FTA ร่วมกับ EU ที่จะเป็นคุณและโทษกับประเทศในอีกไม่นานนี้ หนึ่งในข้อตกลงคือการให้มาตรฐานชีวิตแรงงานดีขึ้นและมีอำนาจในการต่อรอง การรับสัตยาบัน ILO 87/98 ที่รองรับการรวมตัวกันของแรงงาน ยังเป็นสิ่งที่เรารอคอยให้เกิดขึ้นจริง
ในประเทศที่รัฐเป็นหนึ่งในนายจ้างที่เอาเปรียบแรงงานที่สุด จ้างงานด้วยสัญญาทาสอย่างภาคภูมิใจ การให้บริการดูแลประชาชนด้วยการจ้างแบบนี้ก็ยากที่จะคาดหวังให้พัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคง

https://www.facebook.com/photo?fbid=24474982465467023&set=a.292865297438744


การเมืองไทย - ภาวะผู้นำ - วิกฤตรอบด้าน ผ่านสายตา "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" พิธา ถอดบทเรียนอดีต เตรียมปัจจุบัน พร้อมกลับมาในอนาคต ?



MatiTalk อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กลับมาแน่ ในเวอร์ชันใหม่พร้อมมากกว่าเดิม?


มติชนสุดสัปดาห์



Premiered Jul 19, 2025 
#MatiTalk 

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับ มุมมองผู้นำฝ่าวิกฤตรอบด้าน ถอดบทเรียนอดีต เตรียมปัจจุบัน พร้อมกลับมาในอนาคต? ในเวอร์ชั่นใหม่มีไฟกว่าเดิม!? 

คุยทุกเรื่องกับ “ทิม” จากอดีตหัวหน้าพรรค สู่นักเขียน

https://www.youtube.com/watch?v=65Os3GltQ8A




https://x.com/matichonweekly/status/1947287193900171374



สำรวจชีวิตเกษตรกรจีน ที่ต้องอยู่กับเหมืองแร่แรร์เอิร์ธยักษ์ ที่ทำให้ผืนน้ำและผืนดินเป็นพิษ


https://www.facebook.com/watch/?v=1416921869357244


ศาลยกคำร้อง “ธงชัย วินิจจะกูล” หลังยื่นขอศาลไต่สวนกรณีการสวมกุญแจเท้า “อานนท์ นำภา” - ในเมื่อขยันที่จะยกคำร้อง.. งั้นก็ลองหันมาขยันยกฟ้องบ้างก็น่าจะดี




https://www.facebook.com/watch/?v=1283265740082851

Cross Cultural Foundation (CrCF)
11 hours ago
·
ศาลยกคำร้อง “ธงชัย วินิจจะกูล” หลังยื่นขอศาลไต่สวนกรณีการสวมกุญแจเท้า “อานนท์ นำภา”
.
หลังจากที่ ศาลอาญาได้ไต่สวนพยาน 4 ปาก ประกอบด้วย อานนท์ นำภา (ผู้เสียหาย) และพยานผู้เชี่ยวชาญ 3 ปาก ในคดีหมายเลข ปท. 2/2568 กรณีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนโดยพลันและยุติการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อนายอานนท์ นำภา จากการพบเห็นว่าอานนท์ถูกใส่กุญแจเท้า ขณะเดินทางมายังศาล ล่าสุด ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง โดยคำสั่งมีใจความว่า
.
ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นจากการไต่สวนรับฟังได้ว่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ใช้เครื่องพันธนาการ กุญแจ และโซ่ตรวนกับนายอานนท์ นำภา ผู้เสียหาย ในระหว่างการเบิกตัวจากเรือนจำมายังศาลอาญาเพื่อพิจารณาคดีจริง ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การกระทำของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ดังกล่าวมีมูลเพียงพอจะเชื่อได้ว่าเป็นการกระทำตามมาตรา 6 พ.ร.บ.ทรมานหรือไม่ เห็นว่ามีการใช้เครื่องพันธนาการ จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพและอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้เสียหายและบุคคลอื่นอยู่บ้าง แต่จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นมีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิจนเกินขอบเขตแห่งความจำเป็นหรือไม่ เมื่อ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 ได้ให้อำนาจหน้าที่ในการใช้เครื่องพันธนาการเมื่อคุมตัวผู้ต้องขังไปนอกเรือนจำ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันการหลบหนีได้ ดังนั้นการกระทำของเจ้าหน้าที่จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายบัญญัติไว้
.
ส่วนการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่นั้น เห็นว่าการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้จะต้องกระทำเกินเลยไปกว่าความจำเป็น ความปกติในการควบคุมตัว และมีลักษณะเป็นการจงใจลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ แต่จากการไต่สวนในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว
.
ส่วนประเด็นที่เจ้าหน้าที่อาจมิได้จัดทำบันทึกเหตุผลความจำเป็นในการใช้เครื่องพันธนาการนี้เป็นรายการอย่างชัดเจนตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ มาตรา 21 อนุ 4 เห็นว่า แม้บันทึกเหตุผลจะเป็นหลักการปฏิบัติที่สำคัญ แต่ก็ยังมิอาจนำมาเป็นเหตุผลชี้ขาดว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรา 6 ได้โดยในทันที เพราะการวินิจฉัยความผิดตามมาตรา 6 ยังคงต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำและผลการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ
.
เมื่อข้อเท็จจริงชั้นไต่สวนเบื้องต้นยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่กฎหมายบัญญัติ คำร้องของผู้ร้องจึงยังไม่มีมูลเพียงพอที่ศาลจะออกหมายเรียกพยานฝ่ายผู้ถูกร้องมาไต่สวนต่อไป จึงมีคำสั่งยกคำร้อง
.
หลังจากฟังคำสั่งศาล อานนท์ยืนยันว่าจะให้ทนายยื่นอุทธรณ์ต่อไป


แก่นกลางปัญหา ‘พุทธไทย’ คือ พุทธศักดินา ไม่แยกศาสนาออกจากรัฐ เกิดอีกสารพัดปัญหา


แก่นกลางปัญหา ‘พุทธไทย’ คือ พุทธศักดินา ไม่แยกศาสนาออกจากรัฐ เกิดอีกสารพัดปัญหา | TODAY LIVE

Streamed live 9 hours ago 

ปัญหาวงการผ้าเหลือง กรณีสีกากอล์ฟ กับ พระชั้นผู้ใหญ่ สะท้อนปัญหา เงินและอำนาจของพระที่ทำให้ผู้หญิงเข้าหา คำถามสำคัญคือ อำนาจและเงินจำนวนมาก ถูกโอนไร้การตรวจสอบ สะท้อนอำนาจที่ล้นเกิน หากกล่าวถึงอำนาจที่ล้น ย่อมพูดถึง ชั้นยศ และ ความเป็นพุทธแบบสถาบัน หรือ เรียกว่า พุทธแบบศักดินา ราชาชาตินิยม ซี่งพึ่งพิงและได้อำนาจจากรัฐ เป็นต้นตอปัญหา ระบบไม่แยกศาสนากับรัฐ ทำให้มีการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือสร้างสถานะและอำนาจศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ของชนชั้นปกครอง และรัฐให้อภิสิทธิ์ทางศาสนาแก่นักบวช นี่คือต้นเหตุของปัญหาฉาวในวงการพระผู้ใหญ่และปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตย

ร่วมพูดคุยประเด็นนี้กับ รศ. สุรพศ ทวีศักดิ์ - นักวิชาการด้านศาสนาและปรัชญา

ดำเนินรายการโดย อภิสิทธิ์ ดุจดา

https://www.youtube.com/watch?v=o0fLOikWPts



ความเลวและความเลวร้ายที่มาพร้อมกับการทำรัฐประหารของ "มิน อ่อง หล่าย" สหายของ คสช. และบุตรบุญธรรมของ "เปรม"


Lanner
10 hours ago
·
21 กรกฎาคม 2568 สื่ออิรวดี (The Irrawaddy - English Edition) รายงานว่า มะ วุต ยี อ่อง (Ma Wut Yi Aung) นักกิจกรรมนักศึกษาชาวเมียนมาวัย 26 ปี และกรรมการบริหารกลางของสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยดากอน (Dagon University Students’ Union - DUSU) เสียชีวิตในคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ขณะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำอินเส่ง (Insein) จากอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการถูกทรมานและไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม
.
โฆษกเครือข่ายนักโทษการเมืองเมียนมา (Political Prisoners Network of Myanmar - PPNM) นายไทก์ทุนอู เปิดเผยว่า มะ วุต ยี อ่อง เสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 21.30 น. ของวันที่ 19 กรกฎาคม 2568 ที่โรงพยาบาลภายในเรือนจำ จากอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะจากการถูกทรมาน ระหว่างการสอบสวน โดย มะ วุต ยี อ่อง มีอาการหมดสติเป็นระยะ อาการชัก และหัวใจหยุดเต้น โดยเจ้าหน้าที่เรือนจำกลับให้การรักษาเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
.
มะ วุต ยี อ่อง ถูกสภาทหารเมียนมาจับกุมเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 ที่เมืองย่างกุ้งและถูกตัดสินจำคุกรวม 7 ปี ประกอบด้วย 3 ปี โดยแบ่งเป็น 3 ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 505-A และอีก 4 ปีตามกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย มาตรา 52 (a)
.
“ครอบครัวแจ้งเราว่าเธอเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเรือนจำเมื่อคืนนี้เวลาประมาณสามทุ่มครึ่ง เธอเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลในเรือนจำมาตลอดเพราะบาดแผลจากการถูกสอบสวน แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มียาที่เพียงพอในการรักษา”
.
นายไช่ ตูระ เลขาธิการ DUSU ให้สัมภาษณ์กับสื่อ The Irrawaddy ว่า มะ วุต ยี อ่องต้องเข้าออกโรงพยาบาลภายในเรือนจำบ่อยครั้ง จากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะถูกสอบสวน และไม่ได้รับยารักษาที่เพียงพอ ครอบครัวเคยยื่นคำร้องขอให้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลภายนอกเรือนจำ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ
.
ข้อมูลจาก PPNM ระบุว่า มีนักโทษการเมืองอย่างน้อย 14 คนเสียชีวิตระหว่างเดือนมกราคมถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 เนื่องจากขาดการรักษาพยาบาลที่เพียงพอในเรือนจำ องค์กรสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายช่วยเหลือนักโทษการเมืองเรียกร้องให้รัฐเมียนมาจัดให้มีระบบรักษาพยาบาลที่เพียงพอภายในเรือนจำ และอนุญาตให้ส่งนักโทษที่มีอาการรุนแรงไปรักษานอกเรือนจำโดยเร็ว
.
หมายเหตุ: คณะรัฐประหารเมียนมายึดอำนาจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นำไปสู่การประท้วงทั่วประเทศและการปราบปรามอย่างรุนแรง นักศึกษาและนักเคลื่อนไหวจำนวนมากถูกจับกุมและจำคุกภายใต้กฎหมายความมั่นคง

Suchart Sawadsri
ความเลวและความเลวร้ายที่มาพร้อมกับการทำรัฐประหารของ "มิน อ่อง หล่าย" สหายของ คสช. และบุตรบุญธรรมของ "เปรม"

https://www.lannernews.com/21072568-02/



อานนท์ นำภา อยากให้อ่านคำเบิกความในการไต่สวนเรื่องกุญแจเท้า เป็นคำเบิกความที่ดีมากทั้ง 4 คน แม้ศาลจะยกคำร้องก็ตาม


ประชาไท Prachatai.com
10 hours ago
·
ศาลไม่ให้ถอดกุญแจเท้า 'ทนายอานนท์' แม้ศาลจะเห็นว่ากระทบต่อจิตใจทั้งทนายอานนท์และครอบครัว แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีอำนาจตาม ม.21 พ.ร.บ.ราชทัณฑ์และไม่ได้เป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีมนุษย์ แม้เจ้าตัวจะแสดงบาดแผลที่ข้อเท้าเนื่องจากต้องมาศาลทั้งเป็นจำเลยทั้งทำหน้าที่ทนายความไปด้วยแต่ศาลไม่ได้พิจารณาอาการบาดเจ็บ อีกทั้งทนายเผย เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่เคยแจงเหตุผลที่ติ๊กแบบฟอร์มว่าใส่เพราะป้องกันผู้ต้องขังจะหนีจนเป็นเรื่องปกติ แม้ตามกฎหมายจะกำหนดว่าต้องชี้แจงเหตุผล

21 ก.ค.2568 ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ที่นัดไต่สวนคำร้องของธงชัย วินิจจะกูล ขอให้ไต่สวนเพื่อยุติการใส่กุญแจเท้าและโซ่ต่อ อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ตามมาตรา 6 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และขอให้ศาลไต่สวนตามมาตรา 26 ในกฎหมายฉบับเดียวกัน

ศาลได้แจ้งว่ากระบวนการพิจารณาคดีวันนี้ การไต่สวนเป็นการไต่สวนว่าคำร้องมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะรับคำร้องไว้ไต่สวนหรือไม่ หากคำร้องมีมูลพอศาลจะเรียกทางกรมราชทัณฑ์มาไต่สวนตามคำร้องต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพิจารณาวันนี้ ธงชัยซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องไม่สามารถมาศาลเองได้ในวันนี้เนื่องจากติดภารกิจการสอนในมหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกา โดยยังมีทนายความจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและพยานนักวิชาการของฝ่ายผู้ยื่นคำร้องมาด้วย 3 คน คือ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) รณกรณ์ บุญมี มาในฐานะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และศรัญญู เทพสงเคราะห์ จากภาคประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์งานราชทัณฑ์ของไทย และอานนท์ ในฐานะผู้เสียาหายจากการถูกใส่กุญแจเท้า

(คนที่ 1)
---เจ็บทั้งกาย เจ็บทั้งใจ---

ศาลให้ อานนท์ ขึ้นเบิกความเป็นคนแรกเพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพจากการถูกใส่กุญแจเท้าเวลาออกมาศาลทั้งในฐานะจำเลยในคดีและในการทำหน้าที่ทนายความ โดยศาลเป็นผู้ถามกับอานนท์เอง

อานนท์เล่าอธิบายว่าเขาจะถูกใส่กุญแจเท้าเมื่อต้องออกมาศาลเริ่มตั้งแต่ก่อนออกจากเรือนจำจนมาถึงศาล การใส่กุญแจเท้าไว้เช่นนี้ทำให้เกิดการเสียดสีจากขอบคมของกุญแจจนเกิดเป็นแผลสดและเมื่อเขาต้องออกศาลต่อเนื่องทำให้วันถัดมากุญแจเท้าก็ไปโดนแผลซ้ำอีกจากการที่เขาต้องเดินในศาลระหว่างทำหน้าที่ทนายความ แม้ว่าที่ผ่านมาเขาจะไม่เคยมีพฤติการณ์ขัดขืนเจ้าหน้าที่หรือหลบหนีก็ตามอีกทั้งยังมาตามนัดศาลทุกครั้ง

ไม่เพียงเท่านั้นอานนท์ระบุว่า ทุกครั้งที่เดินโซ่ก็จะลากกับพื้นจนเกิดเสียงดังรบกวนและยังทำให้เขารู้สึกถูกมองด้วยสายตาดูหมิ่นทั้งจากคนที่ฟ้องดำเนินคดีกับเขารวมถึงพยานที่มาเบิกความก็ตอบด้วยน้ำเสียงเย้ยหยันเพียงเพราะเขาไม่ได้ใส่ชุดสูทมาว่าความ ถูกลดคุณค่าในฐานะทนายความ

อานนท์กล่าวถึงสถานการณ์ที่ลูกของเขาต้องมาเห็นพ่อที่ถูกใส่กุญแจเท้าอยู่ ที่เขารู้สึกว่าใจหนึ่งก็ไม่อยากให้ลูกต้องมาเห็นพ่อในสภาพเช่นนี้แต่อีกใจก็ยังอยากได้เจอลูกอยู่ อีกทั้งบางคนที่ตั้งใจมาเจอเขาที่ศาลเมื่อได้เห็นเขาก็ร้องไห้ทำให้เขาเก็บไปคิดและรู้สึกเจ็บบาดลึกเข้าไปในใจ

อานนท์เห็นว่าไม่เพียงแต่ผู้ที่ถูกดำเนินคดีทางความคิดไม่ควรถูกปฏิบัติเช่นนี้ แต่ในคดีทั่วไปก็ไม่ควรถูกปฏิบัติเหมือนพวกเขาถูกตัดสินมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว เขาได้เห็นว่าผู้ต้องขังบางคนต้องเอาเชือกมาผูกกับโซ่ที่คล้องกุญแจเท้าไว้เพื่อไม่ให้โซ่ลากพื้นและเสียดสีกับข้อเท้า บางทีก็ต้องลงไปก้มหยิบโซ่เวลาจะลุกเดินเปรียบเสมือนกับลิง ในฐานะที่เขาเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน เขามองว่าแม้ผู้ต้องขังเหล่านี้จะเป็นผู้กระทำความผิดแต่ก็ควรถูกปฏิบัติพอแก่โทษของพวกเขา พวกเขาอาจถูกขังได้ แต่ก็ไม่ควรต้องมาบาดเจ็บจากการถูกล่ามเท้าเช่นนี้

อานนท์กล่าวว่าต่อว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ควรมีอยู่ตั้งแต่ในระดับนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นกรมราชทัณฑ์หรือศาลที่ควรแก้ไข ไม่ใช่แค่ให้เป็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่พิจารณาดำเนินการเองไม่ได้

ทั้งนี้หลังจากอานนท์เบิกความแล้วศาลกล่าวว่าข้อเท็จจริงเพียงพอต่อการพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับไต่สวนแล้ว พยานที่ฝ่ายผู้ร้องนำมาเป็นความเห็นทางกฎหมายที่ศาลรู้เห็นได้เองอยู่แแล้ว อย่างไรก็ตาม รัษฏา มนูรัษฎา ทนายความของผู้ร้องได้โต้แย้งศาลเพื่อขอให้นำพยานที่มาเข้าสืบเนื่องจากมีประเด็นทางกฎหมายระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกับเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้ศาลให้เบิกตัวพยานมาเบิกความได้

(คนที่ 2)
---ใส่พันธนาการโดยไม่จำเป็น ขัดรัฐธรรมนูญ---

พยานปากต่อมาคือ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เบิกความอธิบายประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญและสิทธเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ทั้งในกฎหมายไทยและระหว่างประเทศ รวมถึงอธิบายเกี่ยวกับปัญหาของ มาตรา 21 พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ที่กำหนดเงื่อนไขการใส่พันธนาการด้วย

ปริญญาเริ่มจากกล่าวว่า การใส่พันธนาการอานนท์ไว้ทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุดนั้นขัดกับมาตรา 29 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดว่าต้องผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาจะต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด จะปฏิบัติเหมือนกับเป็นผู้กระทำความผิดแล้วไม่ได้ นอกจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญยังเคยมีคำวินิจฉัยที่ 3/2554 ว่าการใส่ตรวนเช่นนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญและสั่งให้ปลดตรวน แม้ว่าจะเป็นคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าแต่ก็มีเนื้อหาเหมือนกับมาตรา 29 ของฉบับปัจจุบัน

ปริญญายังกล่าวด้วยว่าในมาตรา 21 ของพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ยังกำหนดให้การพันธนาการเป็นข้อยกเว้นด้วย แม้ว่าตาม (4) ในมาตรา 21 จะให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีความเห็นให้ใส่พันธนาการได้ตามสมควรเท่านั้น ไม่ใช่ให้ใส่เป็นการทั่วไป แต่การใช้พันธนาการโดยทั่วไปไม่ใช่ข้อยกเว้นนี้ขัดกับมาตรา 21 เอง

ปริญญากล่าวว่ามนุษย์ไม่ควรถูกล่ามเยี่ยงสัตว์ การใส่พันธนาการต้องทำเท่าที่จำเป็น ประชาชานยังมีสิทธิเสรีภาพตามมาตรา 25 ของรัฐธรรมนูญ และแม้ว่า พ.ร.บ.ราชทัณฑ์จะให้อำนาจแต่ก็อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ที่กฎหมายจะจำกัดสิทธิและเสรีภาพต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ อีกทั้งต้องไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิเกินสมควรแก่เหตุและกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ได้ ละต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิเสรีภาพด้วย อีกทั้งมาตรา 5 ในรัฐธรรมนูญไม่เพียงแต่ไม่ให้กฎหมายหรือข้อบังคับขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแต่ยังรวมถึงการกระทำใดๆ ด้วย จึงเป็นอำนาจของฝ่ายตุลาการที่จะพิจารณาได้ว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

นอกจากนั้นปริญญายังกล่าวถึงปัญหาที่หลักการสันนิษฐานผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนไม่ถูกใช้ว่า แม้จะเคยมีหลักนี้อยู่ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่พ.ศ. 2492 แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2494 ทำให้ไม่เกิดการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธิีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2478 ที่ใช้หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยผิดอีกเลย

ปริญญากล่าวต่อว่าการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยจะทำได้ก็เพื่อให้เกิดการหลบหนีเท่านั้นและเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติใช้ อีกทั้งแม้ว่จะมีเหตุจำเป็นที่ต้องให้ใส่พันธนาการแต่เมื่อเหตุจำเป็นนั้นผ่านพ้นไปแล้วก็ต้องถอดพันธนาการนั้นออก ในต่างประเทศเช่นฝรั่งเศสหรือแคนาดายังมีการห้ามใส่พันธนาการผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อหน้าศาลเด็ดขาดหรือในกรณีของเยอรมณีและสหรัฐฯ ก็ยังกำหนดให้ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้นคือมีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือจะใช้ความรุนแรงเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีการระบุเรื่องนี้ไว้ทั้งในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) และสหประชาชาติมีข้อกำหนดแนวปฏิบัติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหรือที่เรียกว่า “ข้อกำหนดเนลสันแมนเดลา”

อย่างไรก็ตาม ปริญญาอธิบายปัญหาของมาตรา 21 พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ขัดกับรัฐธรรมนูญด้วย คือการใช้คำว่า “ผู้ต้องขัง” ทำให้ทั้งผู้ต้องหาและจำเลยถูกรวมไปด้วยไม่เพียงแต่ผู้ที่ต้องโทษแล้วเท่านั้น

ปริญญายกตัวอย่างคำพิพากษาของศาลปกครองที่ อ.358/2556 ที่แม้ว่าในศาลปกครองชั้นต้นจะเคยสั่งให้ปลดพันธนาการผู้ต้องขังรายหนึ่งแต่ภายหลังศาลปกครองสูงสุดก็กลับคำพิพากษาแต่ก็เป็นเพราะว่ากรณีของผู้ต้องขังรายดังกล่าวทำผิดวินัยแอบใช้วิทยุสื่อสารกับคนนอกเรือนจำอีกทั้งยังถูกตัดสินประหารชีวิตในเวลาต่อมาศาลจึงพิจารณาเห็นความจำเป็น แต่ในกรณีของคดีมาตรา 112 นั้นมีโทษจำคุกเพียง 3-15 ปีเท่านั้นและยังเป็นการเพิ่มโทษขึ้นมาจากโทษจำคุกสูงสุด 7 ปีเพราะคำสั่งคณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 อีกด้วย

(คนที่ 3)
---ใส่พันธนาการโดยไม่มีเหตุ ผิด พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานฯ---

จากนั้นทนายความได้ขอศาลให้เบิกตัวรณกรณ์ บุญมี มาให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา 6 ในพ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานฯ ที่กำหนดลักษณะความผิดของการกระทำที่เข้าข่าย “โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และมาตรา 26 ที่กำหนดให้ศาลต้องไต่สวน “โดยพลัน” เมื่อมีคำร้องว่ามีผู้ถูกกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐในลักษณะที่เข้าองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายฉบับนี้

รณกรณ์ กล่าวว่าตามมาตรา 26 ของพ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาณฯ นี้เป็นการให้ศาลตรวจสอบว่าผู้ถูกควบคุมตัวถูกกระทำที่เข้าข่ายเป้นการทรมานหรือถูกกระทำโหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือไม่ต่างจากมาตรา 90 ที่เป็นเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของการควบคุมตัว

ส่วนการตีความมาตรา 6 นั้นเป็นประเด็นที่เขาเคยยกร่างคู่มือสำหรับให้ศาล อัยการ และตำรวจใช้ในฐานะที่เขาเป็นกรรมการป้องกันซ้อมทรมานฯ ซึ่งมาตรานี้ได้นำมาตรา 16 ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรอการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักด์ศรี มาใช้ การตีความการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการ “โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักด์ศรี” นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถึงกับเป็นการทรมาน เช่น การตบตี ส่วนการย่ำยีศักดิืศรีคือการปฏิบัติต่อคนเหมือนไม่ใช่มนุษย์ เช่นการบังคับเปลือยกาย การให้กินอาหารจากบนพื้น และไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์พิเศษเช่นการบังคับเอาข้อมูลด้วยก็เข้าข่ายตามมาตรา 6 ไม่เหมือนกับมาตรา 5 ของพ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานฯ ที่กำหนดว่าจะต้องมีวัตถุประสงค์เอาไว้ด้วยเช่นการบังคับเพื่อเอาข้อมูล

ทั้งนี้ รณกรณ์ก็ได้อธิบายด้วยว่าประเด็นการตีความคำว่า “ย่ำยีศักดิ์ศรี” กับการใส่กุญแจเท้านี้ในตัวพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ฉบับ 2560 เองก็มีการใส่เรื่องข้อห่วงกังวลที่ทำให้มีการร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในหมายเหตุท้ายกฎหมายว่า ด้วยกฎหมายฉบับ 2479 นั้นไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเนลสันแมนเดลาอีกทั้งยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดกรุงเทพด้วยทำให้ต้องมีการปรับปรุงเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

รณกรณ์กล่าวต่อว่าในข้อกำหนดเนลสันแมนเดลานี้ ในข้อที่ 47 ยังกำหนดไม่ให้ใส่กุญแจเท้าโดยเด็ดขาดหากใส่เพื่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือสิ่งของถ่วงน้ำหนักเอาไว้ และหากจะต้องใส่ต้องอยู่ในเงื่อนไข 3 ข้อคือ จะหลบหนี ทำร้ายตัวเอง หรือจะทำร้ายผู้อื่น ดังนั้นการใส่พันธนาการจะต้องไม่ทำให้เกิดแผลและการใส่อย่างเป็นประจำจึงเป็นการละเมิด ทั้งข้อกำหนดนี้และอาจผิดตามมาตรา 6 พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานฯ ด้วย

(คนที่ 4)
---นักโทษการเมืองยุค 'สฤษดิ์' ก็ยังไม่ต้องใส่ตรวนมาศาล---


หลังรณกรณ์เบิกความเสร็จ ทนายความได้นำ ศรัญญู เทพสงเคราะห์เข้ามาเบิกความประวัติศาสตร์การพันธนาการในระบบงานราชทัณฑ์ของไทยด้วย

ศรัญญูชี้ว่าประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพันธนาการมานับตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แล้วเพื่อปรับปรุงให้เป็นอารยะมากขึ้น จากเดิมที่ก่อนหน้านั้นเคยมีทั้งการใส่โซ่ล่ามที่เท้าและคอ มีขื่อคา และต่อมาถูกลดความโหดร้ายลงและปรับปรุงตามกฎหมายและยังทำให้เกิดการสร้างคุกสมัยใหม่ปรับกฎเกณฑ์ต่างๆ และยกเลิกเครื่องพันธนาการ จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการตั้งกรมราชทัณฑ์ขึ้นมา และมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกครั้งในช่วง 2479 ที่ออก พ.ร.บ.ราชทัณฑ์มา จากนั้นปี 2480 ขุนศรีศรากรให้ที่ปรึกษาไปศึกษาประโยชน์ของการใช้เครื่องพันธนาการมาก็พบว่ามีแค่เรื่องป้องกันหลบหนีเท่านั้น แต่เกิดผลกระทบหลายอย่างทั้งทำให้เกิดการบาดเจ็บมีบาดแผล ทำให้เป็นโรคประสาทเพราะต้องเผชิญกับความเย็นตรงจุดที่มีพันธนาการทำให้นอนไม่ได้ และอื่นๆ ทำให้ภายหลังมีมติให้ยกเลิกการใช้โซ่ตรวนทั้งระหว่างอยู่ในเรือนจำและเมื่อต้องออกมานอกเรือนจำด้วย

ศรัญญูกล่าวว่า แม้แต่ในช่วงยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เองที่มีนักโทษทางการเมืองเช่นกันพวกเขาก็ยังไม่ถูกใส่พันธนาการแม้จะต้องออกมาศาลหรือตอนที่อยู่ในเรือนจำด้วย

หลังจากพยานเบิกความหมดศาลได้แจ้งว่าหากศาลเห็นว่าคำร้องมีมูลให้ไต่สวนคำร้องแล้ว จะดำเนินการออกหมายให้ทางกรมราชทัณฑ์มาชี้แจงต่อไป และนัดฟังคำสั่งว่าศาลจะไต่สวนคำร้องให้ถอดกุญแจเท้าต่อหรือไม่ในเวลา 13.00 น.

---ศาลไม่ให้ถอด ไม่ได้ลดทอนศักดิ์ศรีมนุษย์---

ทนายความของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมกล่าวว่า ศาลมีคำสั่งออกมาว่าให้ยกคำร้องของธงชัย แม้ศาลเห็นว่าการใส่เครื่องพันธนาการกับอานนท์จะส่งผลกระทบต่อจิตใจและครอบครัวจริง แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีอำนาจตามมาตรา 21 (4) ของพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ให้ใส่เพราะต้องพาตัวมาที่ศาล นอกจากนั้นที่พยานเบิกความก็ยังไม่เข้าข่ายเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีมนุษย์เนื่องจากต้องดูลักษณะและผลของการกระทำเจตนาว่าเป็นการกระทำที่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย

ทั้งนี้เมื่อถามว่าศาลได้พิจารณาเรื่องอาการบาดเจ็บของอานนท์ที่เกิดขึ้นซ้ำจากการต้องใส่กุญแจเท้ามาศาลติดกันหลายวันด้วยหรือไม่ ทนายความตอบว่าในคำสั่งศาลไม่ได้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้เลย ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ศาลไม่พิจารณาเพราะมีภาพรอยช้ำ รอยแผลเป็นที่บ่งบอกได้ว่าเป็นการกระทำที่ควรจะทำต่อมนุษย์ด้วยกันหรือไม่และควรเป็นประเด็นสำคัญในคำสั่งด้วยแต่ก็ไม่มี

---เจ้าหน้าที่ไม่เคยแจงเหตุผลทำไมต้องใส่กุญแจเท้าผู้ต้องขัง---

ส่วนประเด็นเหตุผลที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์กรอกไว้ในแบบฟอร์มเวลานำตัวผู้ต้องขังมาศาลนั้น ทนายความเล่าว่าจากการสอบถามอานนท์พบว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่เคยชี้แจงเหตุผลที่ต้องใส่กุญแจเท้ากับอานนท์เลยว่าผู้ต้องขังมีพฤติการณ์อย่างไร จะหลบหนีหรือไม่ หรือเป็นบุคคลวิกลจริตตามเงื่อนไขในมาตรา 21 ที่เป็นเหตุให้ต้องใส่เครื่องพันธนาการ

ทนายความยังเล่าต่อว่า ในตารางเบิกตัวผู้ต้องขังมาศาลที่เจ้าหน้าที่ใช้บันทึกก็มีเพียงว่าผู้ต้องขังรายใดมาศาลคดีใด และขนาดของโซ่ที่ใช้ล่ามผู้ต้องขังมาศาล ส่วนช่องที่ให้เจ้าหน้าที่ติ๊กเหตุผลที่ต้องใส่เครื่องพันธนาการคืออะไรก็เป็นช่องที่ให้ติ๊กว่าป้องกันการหลบหนีอยู่ในแบบฟอร์ม แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะติ๊กแล้วเซนเอกสารไว้ แต่ก็ไม่ได้ใส่เหตุผลหรือลักษณะการกระทำของผู้ต้องขังที่เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าผู้ต้องขังจะหลบหนีอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องมาชี้แจงเหตุผล จนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

ทนายความกล่าวว่าหลังจากนี้จะทำเรื่องอุทธรณ์คำสั่งศาลกันต่อไป และอาจมีการฟ้องไปที่ศาลปกครองต่อไปด้วย



https://prachatai.com/journal/2025/07/113829



"แยกศาสนาออกจากรัฐ" มันจะทำให้เกิดข่าวอื้อฉาวระหว่างพระกับผู้หญิงน้อยลง ซึ่งอันนี้คนทั่วไป ฟังแล้วอาจจะงง ๆ ว่ามันเกี่ยวกันยังไง มีคนอธิบายให้ฟัง


Neo Buddhism
18 hours ago
·
แยกศาสนาออกจากรัฐ
.
สิ่งหนึ่งที่ช่วงนี้มีการพูดกันมากก็คือเรื่องของการ "แยกศาสนาออกจากรัฐ" ว่ามันจะทำให้เกิดข่าวอื้อฉาวระหว่างพระกับผู้หญิงน้อยลง ซึ่งอันนี้คนทั่วไป ฟังแล้วอาจจะงง ๆ ว่ามันเกี่ยวกันยังไง
.
อธิบายให้ฟัง ก็คือถ้าแยกศาสนาออกจากรัฐแล้ววัดทุกวัดก็จะไม่ขึ้นตรงกับรัฐ แต่วัดทุกวัดจะกลายเป็นองค์กรเดี่ยว ๆ ขึ้นมา อาจจะตั้งขึ้นเป็น 'มูลนิธิ'​ หรือ 'สมาคม'​ อะไรก็ว่ากันไป ทีนี้พอวัดกลายเป็นองค์กรเดี่ยว ๆ ขึ้นมาที่ไม่มีอะไรผูกพันกับรัฐ ทุกสิ่งทุกอย่างภายในวัด พระกับโยมจะต้องมาร่วมจัดการกันอย่างเป็นระบบมากกว่าที่เป็นอยู่ นึกภาพตามออกไหม
.
เพราะการที่วัดอยู่ภายใต้เงื่อนไขของรัฐ กระบวนการจัดการต่างๆ จึงหละหลวม ไม่มีอะไรที่รัดกุมไง มันกลายเป็นช่องว่างให้พระนำเงินไปเปย์ใครลับ ๆ ก็ได้ และก็ตรวจสอบ​ไม่ได้
.
ยกตัวอย่างพวกมูลนิธิหรือว่าสมาคมต่าง ๆ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา ระบบการจัดการภายในของมูลนิธิหรือสมาคมต่าง ๆ จะมีความรัดกุม มีการตรวจสอบได้ แต่การที่วัดตกอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล​ของรัฐหลาย ๆ อย่างมันก็เลยหละหลวม
.
การมีงบประมาณจากรัฐให้วัดก็เป็นที่มาของการที่พระถูกกลั่นแกล้งจนต้องถูกจับสึกขังคุกอย่างที่เป็นข่าวเพราะไม่มีคณะกรรมการ​มาช่วยดูแลกำกับรายละเอียดที่มาของงบ การมีงบให้วัดก็เลือกเฉพาะวัดในเมือง วัดจน ๆ ในชนบทรัฐก็ไม่มีงบมาดูแลให้
.
พอวัดมีเงินมากและระบบมันหละหลวมก็เปิดโอกาสให้พระยักยอกเงินและนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลใกล้ชิดตามมา
.
แต่ถ้า วัดถูกแยกออกจากรัฐแล้วถูกจัดตั้งเป็นองค์กร อาจจะเป็นสมาคมหรือมูลนิธิ​ เงินหมุนเวียนภายในวัดก็จะเป็นระบบและถูกตรวจสอบได้ง่ายขึ้น พระก็จะมีความรับผิดชอบต่อเงินขององค์กรมากขึ้น เป็นเรื่องยากที่จะมีการยักยอกเงินขององค์กรไปใช้จ่ายแบบตรวจสอบ​ไม่ได้ และพระก็จะมีความรับผิดชอบต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากขึ้น
.
แล้วเห็นไหมพอเกิดข่าวอย่างนี้ทีนึง รัฐก็จะออกมาบอกว่าวัดห้ามมีเงินสด 100,000 บาท คือพอเกิดเหตุการณ์อะไรสักอย่างขึ้นมาก็ค่อยมีกฎหมายออกมาแก้ไขทีนึงแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าออกกฎหมายมาแล้วมันจะให้ประสิทธิภาพ​ประสิทธิผล กฎแต่ละอย่างออกมาแล้วมีแต่จะต้องอุทานออกมาจากปากว่า "อิหยังวะ"
.
ดังนั้น แยกศาสนาออกจากรัฐเหอะ

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1136031415229442&set=a.467252812107309
.....


Somrit Luechai
7 hours ago
·
เลอะเทอะกันใหญ่
พระเสพเมถุนต้องปาราชิกในขณะนั้น
ไม่ใช่ต้องรออีก 10 วัน
ไปอ่านพระวินัยซิครับ
และอีกหัวข้อ
คือมส.มีอำนาจจับพระที่ไม่ปาราชิกสึก
นี่มันอะไรกัน?
ตกลงพุทธศาสนาในเมืองไทย
อำนาจรัฐอยู่เหนือพระวินัยใช่ไหมครับ?
แล้วเอาพระพุทธเจ้าไปไว้ไหน?
ผมว่า
แยกศาสนาออกจากรัฐเถิดครับ
เพื่อรักษาพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไป

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10234600287567465&set=a.10204374337137595


ศาลยกคำร้อง “ธงชัย วินิจจะกูล” หลังยื่นขอศาลไต่สวนกรณีการสวมกุญแจเท้า “อานนท์ นำภา” ธงชัยได้ให้ความเห็นต่อคำสั่งของศาล อานนท์ยืนยันว่าจะให้ทนายยื่นอุทธรณ์ต่อไป



โดย CrCF มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
21 กรกฎาคม, 2025

วันนี้ 21 กรกฎาคม 2568 เวลา 09.00 น. ศาลอาญาได้ไต่สวนพยาน 4 ปาก ประกอบด้วย อานนท์ นำภา (ผู้เสียหาย) และพยานผู้เชี่ยวชาญ 3 ปาก ได้แก่ นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ นักวิชาการด้านกฎหมายอาญา สิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการแห่งชาติตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ราชทัณฑ์ ในคดีหมายเลข ปท. 2/2568 กรณีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนโดยพลันและยุติการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อนายอานนท์ นำภา จากการพบเห็นว่าอานนท์ถูกใส่กุญแจเท้า ขณะเดินทางมายังศาล

เวลาประมาณ 10.00 น. อานนท์ได้เดินทางมาถึงศาลและขึ้นเบิกความต่อศาลเป็นปากแรก ในฐานะผู้เสียหาย เขาได้กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคของการใช้กุญแจเท้าและเครื่องพันธนาการต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคน โดยเฉพาะลักษณะของกุญแจเท้าที่ใช้กับผู้ต้องหา ซึ่งมีความคม เมื่อเสียดสีกับผิวหนังขณะที่เดินก็จะทำให้เกิดบาดแผล นอกจากนี้ การสวมกุญแจเท้ายังทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถเดินได้เต็มแรงเหมือนคนปกติ จากนั้นอานนท์ได้ยืนขึ้นและชี้ให้ผู้พิพากษาองค์คณะเห็นบาดแผลที่ข้อเท้า ทั้งบาดแผลเก่าและบาดแผลใหม่ ซึ่งเกิดจากการใช้กุญแจเท้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2566 ถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2568

อานนท์กล่าวว่า ผู้ต้องหาในคดีอื่นที่เขาได้พบ บางคนต้องก้มลงไปถือโซ่ที่เชื่อมระหว่างกุญแจเท้าข้างซ้ายและข้างขวาเพื่อให้สามารถเดินได้ เพื่อทำให้ความเจ็บปวดมีน้อยลง กิริยาอาการเช่นนั้นทำให้ผู้ต้องหาดูราวกับว่าไม่ใช่คน แต่เป็นลิง เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างมาก แม้ทุกคนจะยังไม่ได้มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุด แต่กลับต้องถูกปฏิบัติเหมือนคนมีความผิดไปแล้ว

“เวลาได้ยินเสียงโซ่กุญแจเท้าเหมือนมันเป็นเสียงที่ดังเข้าไปในมโนสำนึกว่าเราไม่ถูกปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์เหมือนคนอื่น” อานนท์กล่าว

นอกจากนี้ อานนท์ยังกล่าวทำนองว่า ตนในฐานะนักโทษทางความคิดที่ไม่ได้ก่ออาชญากรรมใดๆ และยังคงเป็นทนายว่าความในหลายคดี ยิ่งไม่ควรถูกปฏิบัติเหมือนผู้กระทำผิด และขอให้รัฐคำนึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่อยู่ทั้งในหลักการสากลและในกฎหมายไทยเป็นนโยบายสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้วย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานก็ไม่สามารถดำเนินงานให้ดีได้ หากระดับบริหารไม่มีนโยบายลงมาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และยกระดับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม

นอกจากการเบิกความของอานนท์ในฐานะผู้เสียหายแล้ว ยังมีพยานผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้กล่าวถึงหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรค 2 และการที่ราชทัณฑ์ใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องหาที่คดียังไม่ถึงที่สุดเป็นการทั่วไปนั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเน้นย้ำว่าในกรณีของอานนท์เป็นไปตามมาตรา 21 (4) ที่ห้ามการใช้เครื่องพันธนาการยกเว้นเวลาเดินทางมาศาล เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ใช้ดุลพินิจได้ตามสมควร ไม่ใช่ใส่เป็นประจำเป็นการทั่วไป แบบนี้ขัดกับหลักการตามมาตรา 21 ของกรมราชทัณฑ์เอง การใช้เครื่องพันธนาการต้องกระทำได้เท่าที่จำเป็นและมีเหตุโดยเฉพาะเจาะจงที่จำเป็นอย่างยิ่ง

“มนุษย์ไม่พึงจะถูกล่ามหรือพันธนาการอย่างสัตว์ การจะใช้เครื่องพันธนาการที่เท้าต้องมีเหตุผลความจำเป็น มาตรา 25 รัฐธรรมนูญระบุว่า การจำกัดเสรีภาพจะต้องไม่จำกัดเสรีภาพเพิ่มภาระจนเกินกว่าเหตุ การใส่เครื่องพันธนาการและใส่เครื่องพันธนาการเป็นหลักนั้นขัดรัฐธรรมนูญ และมาตรา 5 รัฐธรรมนูญก็บัญญัติด้วยว่า บทบัญญัติหรือข้อบังคับ รวมทั้งการกระทำใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเป็นอันใช้บังคับไม่ได้” ผศ. ปริญญา กล่าวในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ด้าน ผศ. ดร. รณกรณ์ บุญมี นักวิชาการด้านกฎหมายอาญา สิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการแห่งชาติตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ก็ได้ให้การต่อศาลว่า มาตรา 6 แม้ไม่ต้องมีเจตนาพิเศษ แต่หากปรากฏว่ามีการกระทำที่โหดร้ายฯ ก็ถือว่ามีความผิดในมาตราดังกล่าว

“มาตรา 26 ของ พ.ร.บ. ป้องกันการทรมานฯ เป็นมาตราที่ต้องการให้ศาลตรวจสอบว่าวิธีการควบคุมตัวนั้นเป็นการทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้ายฯ หรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่ โดยศาลมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบประเด็นดังกล่าวตามมาตรา 26 นี้ โดยไต่สวนโดยพลัน เพราะทุกนาทีที่ผ่านไปถือว่ามีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย หรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เกิดขึ้น” ผศ. ดร.รณกรณ์ บุญมี กล่าว

นอกจากนี้ ผศ. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ นักวิชาการที่ได้ทำการศึกษาในระดับปริญญาเอกหัวข้อประวัติศาสตร์ราชทัณฑ์ และเป็นผู้เขียนหนังสือ “รัฐราชทัณฑ์” กล่าวว่า ประเทศไทยเคยมีการยกเลิกการใช้เครื่องพันธนาการแล้ว ในสมัยที่ขุนศรีศรากรเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้มีความเป็นอารยะมากขึ้น โดยสาเหตุที่ยกเลิกนั้นมาจากการจัดทำการศึกษาถึงผลกระทบของการใช้เครื่องพันธนาการ ที่มีข้อดีเพียง 1 ข้อ คือ ป้องกันการหลบหนี แต่ข้อเสียมีมากถึง 10 กว่าข้อ อาทิ การทำให้ผู้ต้องหามีบาดแผลทางจิตใจ ทำให้นอนไม่หลับ ทำให้จิตใจโหดร้ายยิ่งกว่าเดิม เกิดบาดแผล ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากการไต่สวน ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง โดยคำสั่งมีใจความว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นจากการไต่สวนรับฟังได้ว่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ใช้เครื่องพันธนาการ กุญแจ และโซ่ตรวนกับนายอานนท์ นำภา ผู้เสียหาย ในระหว่างการเบิกตัวจากเรือนจำมายังศาลอาญาเพื่อพิจารณาคดีจริง ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การกระทำของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ดังกล่าวมีมูลเพียงพอจะเชื่อได้ว่าเป็นการกระทำตามมาตรา 6 พ.ร.บ.ทรมานหรือไม่ เห็นว่ามีการใช้เครื่องพันธนาการ จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพและอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้เสียหายและบุคคลอื่นอยู่บ้าง แต่จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นมีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิจนเกินขอบเขตแห่งความจำเป็นหรือไม่ เมื่อ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 ได้ให้อำนาจหน้าที่ในการใช้เครื่องพันธนาการเมื่อคุมตัวผู้ต้องขังไปนอกเรือนจำ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันการหลบหนีได้ ดังนั้นการกระทำของเจ้าหน้าที่จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายบัญญัติไว้

ส่วนการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่นั้น เห็นว่าการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้จะต้องกระทำเกินเลยไปกว่าความจำเป็น ความปกติในการควบคุมตัว และมีลักษณะเป็นการจงใจลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ แต่จากการไต่สวนในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว

ส่วนประเด็นที่เจ้าหน้าที่อาจมิได้จัดทำบันทึกเหตุผลความจำเป็นในการใช้เครื่องพันธนาการนี้เป็นรายการอย่างชัดเจนตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ มาตรา 21 อนุ 4 เห็นว่า แม้บันทึกเหตุผลจะเป็นหลักการปฏิบัติที่สำคัญ แต่ก็ยังมิอาจนำมาเป็นเหตุผลชี้ขาดว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรา 6 ได้โดยในทันที เพราะการวินิจฉัยความผิดตามมาตรา 6 ยังคงต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำและผลการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ

เมื่อข้อเท็จจริงชั้นไต่สวนเบื้องต้นยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่กฎหมายบัญญัติ คำร้องของผู้ร้องจึงยังไม่มีมูลเพียงพอที่ศาลจะออกหมายเรียกพยานฝ่ายผู้ถูกร้องมาไต่สวนต่อไป จึงมีคำสั่งยกคำร้อง

หลังจากฟังคำสั่งศาล อานนท์ยืนยันว่าจะให้ทนายยื่นอุทธรณ์ต่อไป

“จะให้ทนายยื่นอุทธรณ์ต่อไป เพราะคำสั่งศาลวันนี้ไม่คำนึงถึงสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ถูกลดทอนกรณีของเรามีรอยบาดแผลชัดเจน อีกทั้งคำสั่งไม่เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อระหว่างประเทศและมาตรฐานขั้นต่ำ เราอยากให้เรื่องนี้เป็นมาตรฐานสำหรับผู้ต้องขังคนอื่นๆ ด้วยเพื่อให้ได้รับสิทธินี้” อานนท์ นำภา ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ กล่าวก่อนเดินทางกลับเรือนจำ

ภายหลังจากทราบคำสั่งของศาลอาญา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ได้ให้ความเห็นว่า

“ในแง่ความหมายต่อการราชทัณฑ์และระบบกฎหมาย ผมคิดว่า หนึ่ง ตอนนี้กลายเป็นว่าทำแค่นี้ไม่ถือเป็นการทรมาน ผมไม่รู้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่เลวลงหรือเปล่าสำหรับสังคมไทย สอง คำสั่งยกคำร้องเป็นการยืนยันว่าศาลให้ความชอบธรรมแก่ข้อยกเว้นของกฎหมายที่กลายเป็นมาตรฐานปกติ โดยให้อำนาจการกลับตาลปัตรกฎหมายเช่นนี้อยู่ในมือของราชทัณฑ์ ส่วนความพยายามทำกฎหมายปกติให้เป็นปกติต้องมายื่นต่อศาลเป็นกรณีๆ ไป หรือเป็นข้อยกเว้นของข้อยกเว้นที่กลายเป็นปกติไปแล้วโดยคำสั่งศาล”

คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ได้ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนโดยพลันและยุติการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อนายอานนท์ นำภา หลังพบเห็นอานนท์ปรากฏตัวในชุดเครื่องแบบนักโทษพร้อมกุญแจเท้าทั้งสองข้างระหว่างการเดินทางมาศาลและในห้องพิจารณาคดี ธงชัยมองว่าการใส่ชุดนักโทษ การใส่กุญแจเท้า หรือการใส่โซ่ล่ามระหว่างการพิจารณาคดี ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผิดหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงอาจเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนโดยพลัน ตามมาตรา 26 พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

ในคำร้องนี้ ธงชัยขอให้ศาลอาญาไต่สวนโดยพลัน และทบทวนการใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขัง โดยเฉพาะผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี ให้สอดคล้องกับข้อห้ามตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 ที่มีใจความว่า “ห้ามใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง” เพราะฉะนั้น สำนักงานศาลยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ จึงต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการเพื่อให้สิทธิดังกล่าวได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน

https://crcfthailand.org/2025/07/21/60211/