วันเสาร์, กรกฎาคม 05, 2557

คริสตี้ เคนนี่ย์ ทูตมะกัน พูดอะไร เมื่อคืนนี้ จนทำให้บางคน หงุดหงิด ตามไปดูคลิปชัดๆ ที่นี่ + บท บก. VOA

คริสตี้ เคนนีย์ ทูตมะกัน พูดอะไรในวันชาติสหรัฐ ?


https://www.youtube.com/watch?v=glxAij0IhoU#t=130


ที่มา มติชนออนไลน์

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม นางคริสตี้ เคนนี่ย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ระหว่างงานเฉลิมฉลองวันชาติสหรัฐอเมริกา ครบรอบ 238 ปี ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐว่า หลังการรัฐประหาร ไทยและสหรัฐจะยังคงร่วมมือกันต่อไปในทุกๆ ด้าน

"รัฐบาลสหรัฐได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการรัฐประหารในประเทศไทยไปแล้ว อย่างไรก็ตามสหรัฐจะยังคงรักษาความสัมพันธ์ร่วมกับไทยต่อไป ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม สาธารณสุข และด้านอื่นๆ" นางเคนนี่ย์กล่าว และเสริมว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่ยากลำบากของไทย สหรัฐจะทำงานร่วมกับไทยเพื่อช่วยให้ไทยกลับคืนสู่ความเป็นผู้นำด้านประชาธิปไตยต่อไป

นางเคนนี่ย์ยังระบุถึงสิ่งที่สหรัฐคาดหวังด้วยว่าประชาชนควรจะมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปในทุกขั้นตอน และขอเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุติการจับกุมคุมขังเพื่อให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

เมื่อถามถึงว่า รู้สึกพอใจกับโรดแมปของ คสช.ที่ได้ประกาศออกมาหรือไม่ นางเคนนี่ย์กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การทำให้ประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยและประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการปฏิรูปด้วย

ส่วนประเด็นปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งไทยเพิ่งถูกลดระดับลงมาเป็นเทียร์3 หรือระดับต่ำสุดนั้นนางเคนนีย์ระบุว่า ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาระดับโลก เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ไทยและสหรัฐต้องร่วมกันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีสื่อมวลชนให้ความสนใจเดินทางมาทำข่าวเป็นจำนวนมาก และในจำนวนผู้ที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน มี พ.อ.วีรชน สุคนธปฏิภาค โฆษก คสช. ในฐานะผู้แทนระดับสูงสุดของรัฐบาลไทย ยังมีบุคคลสำคัญเข้าร่วมงาน อาทิ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. นายพิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่า กทม. นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตแกนนำ พธม.และ กปปส. นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. และนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และนายรอล์ฟ ชูลเซ่ เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย
ooo


Thailand: A Democracy At Risk

The United States has called for the restoration of civilian rule, a return to democracy, and full respect for human rights and fundamental freedoms.


Source : Voice of America

The United States cares deeply about our relationship with the Thai people and with Thailand, a longstanding friend and ally. For the past ten years, however, Thai politics has been dominated by debate, protests, and even occasional violence between groups competing for political influence,” said U.S. Principal Deputy Assistant Secretary for East Asian and Pacific Affairs Scot Marciel. “These divisions led to a coup in 2006 and again, unfortunately, [on May 22nd of this year].”

The latest coup came at the end of six months of intense political struggle between rival groups that included months-long demonstrations in the streets of Bangkok and occupations of government buildings.

Military leaders who staged the coup argued that it was necessary to prevent violence, end political paralysis, and create the conditions for a stronger democracy.

“Our position . . . has been . . . consistently stressing our support for democratic principles and commitment to our relationship with the Thai nation,” Mr. Marciel said. “We publicly and privately stated our opposition to a coup or other extra-constitutional actions, stressing that the only solution in a democracy is to let the people select the leaders and policies they prefer through elections.”

The United States has called for the restoration of civilian rule, a return to democracy, and full respect for human rights and fundamental freedoms, including the freedoms of expression and peaceful assembly.

“The ruling military council [which staged the coup] has continuously summoned, detained, and intimidated hundreds of political figures, academics, journalists, online commentators, and peaceful protesters.” “It continues to censor local media sources and the internet.”

“The deep-rooted underlying issues and differences of opinion that fuel this division can only be resolved by the people of Thailand through democratic processes.” Mr. Marciel said. “After democracy is restored, we fully hope and intend that Thailand will continue to be a crucial partner in Asia for many decades to come.”