วันจันทร์, กันยายน 01, 2557

คลิป เสวนาวิชาการ "เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน" ? 30 สิงหาคม 2557 + "ไม่เอาประชาธิปไตย..หนุนเผด็จการ" คืองานของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยไทย

1/3 เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน 30 8 2014
https://www.youtube.com/watch?v=jh08DO7LGeY

2/3 เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน 30 8 2014
https://www.youtube.com/watch?v=fO9NIBQgcrA

3/3 เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน 30 8 2014
https://www.youtube.com/watch?v=KpTvVL8p4tU

เสวนาวิชาการ "เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน" ?
พบกับ
รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
อ.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร
อ.วิโรจน์ อาลี
ดำเนินรายการโดย เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี
วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2557 13:00-16:00 น.
ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ตึกอเนกประสงค์
ooo

เวทีเสวนาชี้ธรรมศาสตร์มองประชาชนเป็นผู้มีโอกาสน้อย

August 30, 2014 at 4:07pm
บีบีซีไทย

เมื่อวาน กลุ่มสภาหน้าโดม ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ที่รวมตัวกันเมื่อปีที่แล้ว จัดเสวนาในหัวข้อ "เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน" การเสวนาเป็นไปด้วยดี ไม่มีการสั่งห้ามดำเนินกิจกรรมและไม่มีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบแสดงตัว

ผู้เข้าร่วมเสวนาได้พูดถึงที่มาที่ไปของมหาวิทยาลัยและวลีที่เป็นหัวข้อการเสวนา นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่าธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่ถูกอำนาจทางการเมืองที่ควบคุมมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ขณะที่บุคคลอย่างนายปรีดี พนมยงค์ ถูกลืมไปจากความทรงจำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัย สำหรับคำขวัญ “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” นั้นเป็นผลิตผลของอุดมการณ์จากเหตุการณ์ “14 ตุลาฯ” และถูกสถาปนาให้เป็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์

ด้านนายศุภวิทย์ ถาวรบุตร คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หลังเหตุการณ์ “14 ตุลา” ขบวนการนักศึกษาเปลี่ยนวลีของ “ศรีบูรพา” จากคำว่า “สอนให้ฉันรักคนอื่น” เป็นคำว่ารักประชาชน นั่นหมายความว่าขบวนการนักศึกษามองตัวเองว่ามีโอกาสมากกว่าประชาชน สามารถก้าวไปสู่ชนชั้นนำได้

อย่างไรก็ดี นายศุภวิทย์เห็นว่าที่ มธ.ศูนย์รังสิต มีการติดป้าย “รับใช้ประชา คือปลายทางของเราที่เล่าเรียน” แสดงให้เห็นว่าแม้จะเดินหน้าไปกับกระแสพัฒนา แต่ยังสัมผัสและยึดโยงกับคุณค่าที่จะนำมาใช้ได้ ทั้งนี้ เห็นว่าธรรมศาสตร์คือระบบการผลิตป้อนคนสู่เศรษฐกิจและชนชั้นนำไทย และที่ต้องยึดโยงอยู่กับคำว่า “รักประชาชน” ก็เพราะคนไม่ได้มีโอกาสอย่างเท่ากัน

ด้านนายวิโรจน์ อาลี จากคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เห็นว่าวลีที่ถกกันอยู่นี้เป็นวาทกรรมที่ถูกช่วงชิงจากทุกฝ่ายที่นำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ตนเอง ถูกนำมาเชิดชูในแง่จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ เพราะสามารถมองความหมายได้หลากหลาย เช่นว่า ประชาชนที่พูดถึงนั้นเป็นประชาชนในสายตาของใคร

นายวิโรจน์ ตั้งข้อสังเกตว่า วลี ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน แสดงให้เห็นปรัชญาในการก่อตั้งธรรมศาสตร์ว่าเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสสำหรับคนไม่มีโอกาส ได้เข้ามาเรียนหนังสือ และไม่ใช่สถานที่ผลิตคนแบบใดแบบหนึ่งแต่เป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพ ดังนั้นตนจึงรู้สึกเฉยๆ ที่มีนักศึกษา เรียนจบออกไปแล้วเป็น “สลิ่ม” หรืออาจจะเป็นตรงข้าม


นายวิโรจน์ กล่าวด้วยว่าการย้ายการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ไปที่ศูนย์รังสิต ได้ทำลายแนวความคิดของคนกลุ่มน้อยที่เคลื่อนไหวในธรรมศาสตร์ให้หมดไป ทำให้นักศึกษาไม่ค่อยสนใจการเมือง ส่วนอาจารย์สอนเสร็จก็กลับเข้ามาในเมือง ไม่มีเวลาพูดคุยกับนักศึกษามากเหมือนสมัยอยู่ท่าพระจันทร์ ทำให้ความสัมพันธ์เปลี่ยนไป ธรรมศาสตร์ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเล็กๆ น้อย ไม่ได้คิดเรื่องคุณค่าเพื่อส่วนรวม

“การที่คณะผู้บริหาร ห้ามคณาจารย์นิติราษฎร์ จัดเวที ในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ต่ำสุดของมหาลัย รองอธิการบดีคนหนึ่งบอกว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างหนึ่ง ผมตอบกลับไปว่า แล้วทีพวกท่านเล่นการเมืองตั้งแต่ปี 2549 ล่ะ คือคนเหล่านี้ อยู่ในโลกของตัวเอง อยากบอกว่าถ้าจะบอกว่าทำเพื่อชาติ ก็อย่าไปรับผลตอบแทนตำแหน่งที่มาจากคณะรัฐประหาร และคาดหวังว่าวิกฤตขณะนี้จะทำให้สร้างสังคมใหม่ อย่าให้ธรรมศาสตร์ถูกกลืนไปกับคนมีอำนาจ อยากให้เดินในกรอบประชาธิปไตย” นายวิโรจน์ กล่าว

นายสิรวิชญ์ เสรีวิวัฒน์ เลขาธิการกลุ่มสภาหน้าโดม นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ธรรมศาสตร์มองประชาชน ด้วยกรอบคิดว่าประชาชนต่ำกว่า ทั้งที่ประชาชนอาจจะรวยกว่าเราก็ได้ ไม่ได้อยู่ในฐานะที่ต่ำต้อยกว่าเรา สำหรับแนวทางการปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษา นั้นไม่ต้องพยายามผลักดันการมีจิตอาสา เพียงขอมีจิตเป็นวิญญูชน เสรีชน ส่วนจะรักประชาชนหรือไม่อยู่ที่จิตวิญญาณของแต่ละคน
ooo
เรื่องเกี่ยวข้อง...

"ไม่เอาประชาธิปไตย..หนุนเผด็จการ" คืองานของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยไทย

SAT, 08/30/2014 - 22:28 JOM


https://www.youtube.com/watch?v=XL2Y76VnAKw

ที่มา Thai Voice Media

เหตุการณ์ที่ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขายแซนวิช เพื่อรักษาแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็ง แต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยห้ามไม่ให้ นิสิตคนดังกล่าวให้สัมภาษณ์สื่อเพราะกลัวเสียภาพพจน์ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ จนเป็นที่โจษจรรย์กันอย่างกว้างขวาง

รวมไปถึง ในหลายมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อสิทธิเสรีภาพและความเป็นประประชาธิปไตย จนถูกออกหมายจับ หรือ ถูกเรียกตัวจาก คสช. แต่ผู้บริหารกลับเงียบเฉย รวมไปถึงความพยายามที่จะไม่อนุญาติให้มีการจัดกิจกรรมในทางวิชาการที่เกียวกับการเมือง หรือ การวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจ

อีกทั้งการที่ ผู้บริหารหลายมหาวิทยาลัยต่างพากันดีใจ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติ โดยรัฐบาลที่ปล้นอำนาจจากประชาชน

ทำให้เกิดคำถามสำหรับ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างมากว่า ทำไมถึงให้การสนับสนุนเผด็จการมากกว่าที่จะส่งเสริม หรือรักษาไว้ซึ่งบรรยากาศของสิทธิเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย ทั้งที่เป็นหัวใจสำคัญของการเป็นสถาบันอุดมศึกษา..ฟังคำอธิบายเรื่องนี้จาก ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กันอีกครั้ง