วันอาทิตย์, มกราคม 18, 2558

บอกลาประเทศไทย นักข่าวฝรั่งรู้ลึกเกาะเต่า



Saturday, January 17, 2015
แอนดรูว์ ดรัมมอนด์ กับลูกๆ ทั้งสาม

British journalist Andrew Drummond has quit Thailand after 25 years covering Southeast Asia from the Thai capital Bangkok.
แอนดรูว์ ดรัมมอนด์ นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษอำลาประเทศไทยหลังจากที่ประจำการในกรุงเทพฯ รายงานข่าวเกี่ยวกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกันมา ๒๕ ปี

The primary reasons were a direct threat to the safety of himself and his three children from foreign criminals in Thailand working in liaison with the Thai Police and Thailand’s Crime Computer Crime Act, which he said was being used by foreign criminals to silence criticism of their activities.
เหตุผลเบื้องต้นเนื่องด้วยความไม่ปลอดภัยจากการข่มขู่ต่อตัวเขาและลูกๆ สามคน โดยอาชญากรต่างชาติในประเทศไทยซึ่งได้รับการดูแลจากตำรวจไทย และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งเขาบอกว่าพวกอาชญากรต่างชาติใช้ในการปิดปากการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของพวกนั้น

In a statement issued today he said: 
ในแถลงการณ์วันนี้ของเขาบอกว่า
“I have enjoyed my time in Thailand where I have made many good Thai and foreign friends but there comes a time having too much knowledge which I cannot keep to myself can be too dangerous.  

"ผมรื่นรมย์ตลอดมากับการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ที่ซึ่งผมได้พบเพื่อนดีๆ ชาวไทยและต่างชาติ แต่มันก็มาถึงเวลาที่การได้รับความรู้มากล้นเกินกว่าจะเก็บไว้กับตัวเองได้กลายเป็นอันตรายมากเกินไป
  
My well being has been threatened as have those of my children. This is not of course the first time, but the recent threat came from a group of people who have killed with impunity before, and have even had police set up people on false charges."

ความเป็นอยู่ของผมและลูกๆ ถูกคุกคามเสียแล้วนี่ก็ไม่ใช่เป็นครั้งแรก การข่มขู่ล่าสุดมาจากกลุ่มคนที่เคยฆ่าคนโดยไม่ต้องรับผิดมาก่อน แม้กระทั่งให้ตำรวจสร้างผู้ต้องหาเท็จขึ้นมาแทนด้วย"
อลัน มอริสัน กับชุติมา สีดาเสถียร
“The Department of Special Investigations kindly invited me to sit in and work out of their offices on certain cases, but of course my primary function is as a journalist and matters I am dealing with cannot be written about safely in Thailand, and if I am to continue to function as a journalist it must happen outside Thailand’s borders.
 
"กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เชิญให้ผมไปใช้สำนักงานนั่งทำงานในบางคดี แต่ว่างานหลักของผมคือการทำหนังสือพิมพ์ แล้วก็เรื่องราวที่ผมทำข่าวอยู่นั้นไม่สามารถที่จะเขียนออกมาอย่างปลอดภัยได้ในประเทศไทย  และถ้าหากผมจะทำงานอย่างนักหนังสือพิมพ์ต่อ ก็จะต้องไปทำนอกอาณาเขตประเทศไทย

I have left information in Thailand which should be of use to the DSI and will remain on call should they need any clarifications.”

ผมได้ให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทยที่ควรนำไปใช้ไว้กับดีเอสไอหมดแล้ว ทั้งยังพร้อมรับการติดต่อหากทางดีเอสไอต้องการสอบถามเพิ่มเติมด้วย"
 
On the matter of Thailand’s Computer Crime Act I have been supported alongside Alan Morison and Chutima Sudasathian of Phuketwan and migrant workers activist Andy Hall in statements by the British Ambassador and European Union.  
However statements are not going to protect my family.

ต่อกรณีกฏหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่ผมให้การสนับสนุน ด้วยถ้อยแถลงร่วมกับการต่อสู้ของอลัน มอริสัน กับชุติมา สุดาเสถียร แห่งภูเก็ตหวาน และแอนดี้ ฮอล นักกิจกรรมเพื่อผู้อพยพ ในคำร้องของเอกอัคราชทูตอังกฤษกับสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ดีถ้อยแถลงนั้นก็ไม่อาจปกป้องครอบครัวของผมได้



The harassment of Andy, Alan and Chutima, has no place in a country calling itself free. Thailand’s inability to take criticism, and its greatly flawed justice system, are major handicaps to its progress. 

แอนดี้ ฮอล
การกลั่นแกล้งคุกคามที่ทำกับแอนดี้ อลัน และชุติมา ไม่น่าจะมีในประเทศที่เรียกตัวเองว่าเสรี ความไร้สมรรถภาพของประเทศไทยที่จะรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์ และระบบตุลาการอันล้มเหลวสิ้นดี เป็นความง่อยเปลี้ยที่เหนี่ยวรั้งความก้าวหน้าของประเทศไว้

I have successfully defeated a tranch of cases brought against me in the Thai courts. I could not have done that without the support of readers to my website. 

ผมประสบความสำเร็จในการเอาชนะคดีแดนสนธยาต่างๆ ที่ถูกนำขึ้นฟ้องในศาลไทยมาได้ เพราะการสนับสนุนของผู้อ่านบนเว็บไซ้ท์ของผม

However criminals do not have to pay costs when they lose and they continue to take cases which are so ridiculous in their nature that they are not even worth spending the cash to defend.

อย่างไรก็ดีพวกอาชญากรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อพวกเขาแพ้คดี แล้วยังทำการฟ้องร้องต่อไป ทั้งที่คดีเหล่านั้นงี่เง่าเสียจนไม่มีคุณค่าอันใดจะต้องยอมจ่ายเงินเพื่อต่อสู้ในศาล 

For example Brian Goudie, 48, a British citizen who technically should not be in Thailand at all (He had been sentenced in Australia for fraud) is suing me for publishing photo-shopped pictures lampooning him as a British barrister and a former officer in Britain’s Royal Marines – false claims that he made in Thailand. Goudie is charged in Thailand with defrauding a 75-year-old woman out of 7.9 million baht claiming he was a British barrister.

ตัวอย่างกรณีไบรอัน กูดี้ พลเมืองอังกฤษวัย ๔๘ ปี ผู้ในทางเทคนิคแล้วไม่ควรที่จะได้อยู่ในประเทศไทยด้วยซ้ำไป (เขาถูกพิพากษาลงทัณฑ์ในออสเตรเลียด้วยความผิดฉ้อโกง) กลับฟ้องร้องผมที่ตีพิมพ์ภาพตัดต่อด้วยโฟโต้ช้อปล้อเลียนอย่างแรงเรื่องเขาเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษและเป็นทหารในหน่วยราชนาวิกโยธินบริเตน ที่เป็นข้ออ้างเท็จของเขาในประเทศไทย กูดี้ถูกดำเนินคดีในประเทศไทยข้อหาต้มตุ๋นสตรีวัย ๗๕ ปีเป็นจำนวน ๗.๙ ล้านบาทโดยอ้างตนเป็นเนติบัณฑิตของอังกฤษ

What I have done has been clearly in the public interest. But apparently not according to judges in Koh Samui who are now handling the Koh Tao murder cases. I am also being sued by a former pimp from Melbourne, Australia, whose case for racketeering has disappeared into the Pattaya ether. I am also being sued by an American convicted of extortion in Pattaya.

สิ่งที่ผมทำไปล้วนชัดเจนว่าเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้สอดคล้องกับผู้พิพากษาในเกาะสมุย ผู้ซึ่งขณะนี้ทำการพิจารณาคดีฆาตกรรมที่เกาะเต่า ผมยังกำลังถูกฟ้องโดยอดีตแมงดาของโสเภณีจากเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ผู้ซึ่งคดีฉ้อโกงของเขาอันตรธานหายไปในสวรรค์ชั้นเจ็ดของพัทยา นอกจากนั้นผมยังถูกฟ้องโดยคนอเมริกันที่เคยต้องโทษความผิดฐานกรรโชกเงินในพัทยา 
  
I have worked as a journalist for over twenty years in Britain, the United States and Australia without being sued once. In many ways foreign criminals will be seen to have won this battle. They have not won the war.

ผมทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์มากว่ายี่สิบปีในอังกฤษ สหรัฐ และออสเตรเลีย ไม่เคยถูกฟ้องร้องแม้แต่ครั้งเดียว เห็นได้ในหลายๆ ทางว่าเรื่องของผมนี้พวกอาชญากรเอาชนะการรบไปแล้ว แต่พวกเขายังไม่อาจเอาชนะสงครามได้
ลูกๆ ของดรัมมอนด์ อาร์ชี่ แอนนี่ แม็ท
I will of course continue as before while looking for a home and decent education for my children. 
Comments welcome.

แน่นอนผมจะยังคงทำต่อไปเหมือนเช่นที่เป็นมา ในขณะเดียวกันก็มองหาบ้านและการศึกษาที่เหมาะสมให้แก่ลูกๆ

เชิญแสดงความคิดเห็นกันได้

Brief Bio:  Andrew Drummond has covered South East Asia as a journalist for The Observer, The Observer Film Company, London Evening Standard, The Times (10 years) and more recently the London Evening Standard again. He also regularly broadcasts from Bangkok and stories by him have also been syndicated world wide.

ประวัติส่วนตัวย่อๆ: แอนดรูว์ ดรัมมอนด์ เป็นผู้สื่อข่าวภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ให้กับ ดิอ็อบเซิ้ร์ฟเวอร์ บริษัทภาพยนตร์ดิอ็อบเซิ้ร์ฟเวอร์ ลอนดอน อี้ฟเว็นนิ่ง สแตนดาร์ด เดอะไทมส์ (๑๐ ปี) และเร็วๆ นี้ให้กับลอนดอน อี้ฟเว็นนิ่งสแตนดาร์ด อีกครั้ง เขายังแพร่ภาพรายการจากกรุงเทพฯ เป็นประจำ ซึ่งเรื่องราวที่เขานำเสนอได้รับการออกรายการกระจายไปทั่วโลก

His television documentaries in this region include
สารคดีโทรทัศน์ในภูมิภาคนี้ของเขารวมถึง

No Man Wants to Die - Exposing a worldwide drugs syndicate
ไม่มีใครต้องการตาย –เปิดโปงเครือข่ายยาเสพติดทั่วโลก

Burma's Forgotten War - with the Karen National Liberation Army
สงครามที่โลกลืมของพม่า -กับกองทัพปลดแอกแห่งชาติกะเหรี่ยง

Lord of the Golden Triangle - living with drugs warlord Khun Sa
จ้าวพ่อแห่งสามเหลี่ยมทองคำ –อยู่อาสัยกับขุนส่า ราชายาเสพติด

He also has featured heavily and employed in other documentaries including 'Garden City Killer' on serial killer John Martin Scripps, The Sex Slave Trade, and Who Killed Kirsty Jones?
เขายังปรากฏตัวอย่างเต็มที่ใน และทำงานให้แก่รายการสารคดีอื่นๆ เช่น นักฆ่าการ์เด็นซิตี้ เกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่อง จอห์น มาร์ติน สคริปส์ การค้าทาสทางเพศ และ ใครฆ่าเคิร์สตี้ โจนส์

Andrew Drummond and Andrew Chant tracked down Paul Gadd (Gary Glitter) in Vietnam following which the former rocker was arrested on child abuse charges.
แอนดรูว์ ดรัมมอนด์ และแอนดรูว์ แช้นท์ ติดตามพอล แก๊ดด์ (แกรี่ กลิตเตอร์) ไปยังเวียตนาม ซึ่งต่อมาอดีตดาวร็อคถูกจับกุมในข้อหาข่มเหงเด็ก

Footnote: With special thanks to Jonathan Head, BBC correspondent and President of the Foreign Correspondents Club of Thailand, Dominic Faulder, former President and long term stalwart, Nick, Pi-Nok, Pi-Tuk, Nong Pi-May, and Foxy, and supporters of this site.

เชิงอรรถ: ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อ จอนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซีและประธานสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ดอมินิค ฟอลเดอร์ อดีตประธานและผู้หนุนหลังอันยาวนาน นิค พี่นก พี่ตุ๊ก น้องพิมาย กับฟ็อกซี่ และผู้สนับสนุนเว็บไซ้ท์นี้