วันเสาร์, เมษายน 04, 2558

นายกฯ เปิดใจกลางวงขุนทหาร น้อยใหญ่ ฮึ่ม! ไล่ พวกทำลายชาติ ไม่ควรอยู่ในแผ่นดินนี้ เผย ตปท.เห็นบ้านเมืองเราสวยงามแต่ไม่รู้ว่าข้างในเป็นโพรง + 2 More Reactions from the UN and the US on "Thailand junta replaces martial law with absolute power"




ที่มา FB Wassana J. Nanuam

นายกฯ เปิดใจกลางวงขุนทหาร น้อยใหญ่ ฮึ่ม! ไล่ พวกทำลายชาติ ไม่ควรอยู่ในแผ่นดินนี้ ต้องใช้กม.จัดการ ผมทนไม่ได้ที่จะให้ทำลายประเทศต่อไป ในเมื่อไม่เกรงใจผม ผมก็จะไม่เกรงใจใคร เผย ตปท.เห็นบ้านเมืองเราสวยงามแต่ไม่รู้ว่าข้างในเป็นโพรง เรากำลังเติมอิฐทรายแต่มีคนเอาน้ำมาราดตอนยังไม่แห้ง คนพวกนี้ไม่ควรอยู่ในแผ่นดินนี้"แฉพวกต่อต้าน มีแผล มี เบื้องหลังทั้งนั้น ผมไม่เคยละเมิดใคร ตั้งแต่ใช้กฏอัยการศึก ม.44ไม่เคยมีคนตาย เตือนคนใช้อาวุธต่อสู้จนท.อย่าให้มากเกินไป...ยันไม่หลงระเริงในอำนาจ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.เป็นประธานงานสถาปนา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ครบ 106 ปี และพิธีเปิดอาคารโรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งใหม่ กองคลังยุทโธปกณ์สรรพาวุธ ถนนพระรามที่ 5 เขตดุสิต

นายกรัฐมนตรี ทำพิธีเปิดอาคารโรงเรียน และมอบประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น จำนวน 8 ราย ดังนี้ 1.พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2.พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 3.พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 5.พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 6.พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม 7.พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการสูงสุด (ผบ.สส.) 8.พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา วันนี้ต้องเดินหน้าปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมีความซับซ้อน มีปัญหาเล็กน้อยซ้อนอยู่หลายชั้นยากต่อการแก้ปัญหา ซึ่งการศึกษาของทหารนั้นเราเน้นเรความเป็นระเบียบวินัย ทำให้สามารถคิดได้อย่างลึกซึ้ง และรู้จักใช้ข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดวนการตัดสินใจในการใช้อำนาจการบังคับบัญชานั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน และผ่านหลายขั้นตอนซึ่งผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ในการตัดสินใจ ระหว่างนั้นจะมีการประสานงานและบูรณาการ

"วันนี้สิ่งที่ผมได้จำมาใช้เป็นแนวคิดทางการทหารทั้งสิ้นที่เป็นพื้นฐานให้ผมในการมาใช้ในการทำงาน แต่สิ่งที่เรามีปัญหามากที่สุดในการบริหารราชการแผ่นดินคือการประสานงานและบูรณาการ การทำงานร่วมกัน ต่างคนยังต่างทำงานตามภารกิจกกระทรวงกันอยู่เหมือนเดิมมพันธกิจและภารกิจ งบประมาณก็ยังแยกกันอยู่เหมือนเดิมจึงไม่มีอะไรสำเร็จได้ เพราะต่างคนต่างทำออกมาเป็นคนละชิ้น"

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้รัฐบาลเข้ามาทำงานแล้ว 6 เดือน ซึ่งระยะแรก 4-5 เดือนแรกทำอะไรไม่ได้มากนัก 6 เดือนเข้ามาวางพื้นฐานแก้ไขปัญหาที่มีความทับซ้อนต้องใช้เวลาการเดินหน้าตามโรดแม็พที่มีอยู่วันนี้กระบวนการคิดของแต่ละคนมีหลากหลายไม่เหมือนกัน แต่ควรต้องมีหลักการและเหตุผล ต้องมีความรู้มีการศึกษาเพิ่มเติม ถ้าข้อมูลไม่ครบความคิดทุกคนจะไปคนละทิศคนละทางไม่มีจุดมุ่งหมายร่วม ต่างก็คิดที่จะทำงานเฉพาะของตัวเอง ดังนั้นวันนี้ต้องคิดใหม่ เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ต้องคิดว่าประเทศต้องการและยังขาดอะไร 

หลายคนที่ไม่ใช่ทหารอาจไม่เข้าใจและเกรงกลัวต่ออำนาจ ซึ่งอำนาจของทหารคืออำนาจในการปกครองและบังคับบัญชา และอำนาจในการทำศึกสงครามและการสู้รบ รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนทั้งในยามปกติและยามสงคราม ซึ่งทหารยึดถือว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยืนยันว่าการมีอำนาจของทหารเป็นอำนาจแห่งการปกครองของผู้บังคับบัญชาในการปกครองบุคลากร 3 -4 แสนคนที่ถืออาวุธอยู่ทั้งสิ้น จึงไม่ต้องกลัวว่าผู้บังคับบัญชาหรือใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ไม่สามารถทำอะไรนอกกรอบได้มากมาย ดังนั้นจึงต้องมีการหารือร่วมกันและหาข้อยุติได้ก่อนที่จะมีการสั่งการ

"สังคมเป็นห่วงว่าอำนาจต่างๆที่ผ่านมา จะทำให้หลงระเริงในอำนาจ แต่ผมคิดว่ายิ่งมีอำนาจมากยิ่งต้องระวัง ดังนั้นใครที่ให้ความสำคัญกับอำนาจมากนัก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเป็นผลประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับการกระทำกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราถึงต้องระวังเรื่องของอำนาจ จึงอยากให้ทุกคนเข้าใจ ใครที่สนใจแต่มาตราโน้นมาตรานี้ ทำไมไม่สนใจว่าทำอย่างไรที่จะใจจะให้คนในชาติสามัคคีกันได้อย่างไร มองว่าประเทศมีปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหาของเราวันนี้คือคนในประเทศมองปัญหาไม่เหมือนกัน ถ้ามายืนอยู่ในจุดที่ผมือแต่ละกระทรวงอยู่จะรู้ว่ามันเป็นอย่างไร นี่คือเหตุผลและความจำเป็นในการต้องมีอำนาจ ใช้ในการทำสิ่งที่ดี ถูกต้องกว่าเดิม ดีกว่าเดิม

ไม่ได้บอกว่าต้องดีที่สุด แต่ต้องดีกว่าเดิม จะอาศัยผู้นำ หรือรัฐมนตรีคนเดียวทำไม่ได้ ทุกคนในชาติต้องช่วยกันเพื่อให้ประเทศเดินหน้า"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่างประเทศได้ข้อมูลจากเราทั้งสิ้นทุกเรื่อง จากสื่อเป็นส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจผิดจำนวนมากอกถึงขนาดว่าผมจะใช้อำนาจในการประหารชีวิตสื่อ มันอะไรกันนักหนา สื่อมีหน้าที่สองอย่างซึ่ง ผมไม่ต้องการไปอะไรมาก เหมือนกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนเองก็ต้องทำหน้าที่สองอย่าง คือหน้าที่พันธกรณีที่ทำไว้กับต่างชาติ ผมไม่ได้ไปคัดค้าน หน้าที่คือเพื่อชาติของท่านในการทำงานของสื่อรัฐบาลและ ผมไม่ได้ขอให้ปกปิดสามารถตรวจสอบได้ทุกอย่าง แต่ต้องให้ความเป็นธรรมก่อนเพราะถ้านำเสนอไปแล้วก็จะผิดไปเลย ทุกอย่างต้องมีเหตุและผลในการตัดสินใจใคร่ครวญ เพราะการกล่าวหาใดๆจะต้องมีหลักฐาน อย่าพูดปากเปล่า วันนี้ประเทศชาติเสียหาย เพราะทำงานด้วยปาก มีการเขียนแผนแต่ไม่ลงมือทำจริงหรือทำไม่ถึงครึ่ง รัฐบาลจึงต้องเข้ามาจัดระเบียบวินัย จัดระเบียบบ้านเมือง บางคนทนไม่ได้บอกไม่เป็นประชาธิปไตย

"ผมถามว่าใช่หรือไม่ ว่างๆต้องถามมิตรประเทศด้วยว่าเขามีสถานการณ์แบบเราหรือไม่ ทั้งการใช้อาวุธสงครามและการใช้ระเบิดเราต้องอธิบายให้เข้าใจ และจากวันนี้ผมจะไม่เกรงใจตราบใดที่ยังมีการพูดให้กองทัพและประเทศเสียหาย เพราะผมมายืนตรงนี้ผมต้องรับผิดชอบทุกอย่างอยู่แล้ว แต่ทุกคนต้องร่วมมือกับผมในการสร้างความเข้าใจ ทุกคนในชาติถ้าเป็นคนไทยต้องช่วยกันเพื่อประเทศไม่ต้องมาช่วยผม การเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้อง คือประชาธิปไตยที่ไม่ละเมิดคนอื่นและไม่ทำให้คนอื่นลำบาก เสียชีวิต รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลคนไทยทั้งหมดจะเป็นสีไหน พรรคไหน ผมไม่สนใจ แต่จะดูแลคนทั้ง 60-70 ล้านคนให้ได้โดยเร็ว เพราะเวลาของเรามีจำกัด าเข้ามาเพื่อทำแผนไว้ให้อะไรทำได้ก็ต้องทำ ก็ต้องช่วยกันสวดมนต์ไหว้พระให้รัฐบาลใหม่ทำให้ได้ ซึ่งขณะนี้ได้แก้ไขปัญหาทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง สิ่งที่แก้ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เพราะทุกคนต้องทำตามรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล ถ้าทำตามความต้องการของตัวเอง็จะมีปัญหาตลอด มีคดีรกศาลไม่ว่าจะมีศาลเพิ่มอีกกี่ศาลหรือกฎหมายอีกกี่ฉบับ ดังนั้นการมีกฎหมาย มีรัฐธรรมนูญ 300 กว่าฉบับก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เพราะทุกคนเอารัฐธรรมนูญมาต่อสู้กันเอากฎหมายมาต่อสู้มาตีความกัน ยิ่งทำก็ยิ่งวุ่นย บางประเทศไม่มีรัฐธรรมนูญ เพราะมีแล้ววุ่นวาย แต่ทำตามจารีตประเพณีก เพราะคนเขามีคุณภาพ มีตรรกะในการคิด มีเหตุผล และรับฟังคนอื่น ไม่ใช่ตั้งเข็มทิศอย่างเดียว "นายกรัฐมนตรีกล่าว

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ขอให้เข้าใจว่าหลักสูตรทางทำให้เรามองได้ลึกซึ้ง วันนี้นมีความรู้จากโรงเรียนทหารมาทั้งสิ้นนำมาบริหารก็มั่นใจว่าเพียงพอที่จะนำพาขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยาได้ผลสัมฤทธิ์

ซึ่งมีทั้งคนพอใจและไม่พอใจ แต่เชื่อว่าจะดีขึ้นกว่าเดิม วันนี้รัฐบาลต้องแก้ใน 3 เรื่อง คือ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
การปฏิรูปประเทศที่ต้องใช้เวลาอาจเป็น 10 ปี เพราะปัญหาหมักหมมมานาน ประชาธิปไตยไทยเป็นอย่างนี้มาโดยตลอด ถึงจะใช้เวลา เท่าไหร่ก็ต้องทำ ขณะเดียวกันประชาชนจะอยู่เฉยๆไม่ได้ แต่ต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มชนและถ้ารัฐบาลประชาธิปไตยที่ไม่มีธรรมาภิบาลก็จะพยายามดึงเอากลุ่มชนเหล่านี้มาเป็นพวกตัวเองเหมือนที่ผ่านมา

"วันนี้รัฐบาลแก้ปัญหาทุกอย่าง แต่ทุกคนก็สนใจแต่การเมือง จะเลือกตั้งอย่างไร ต่อให้อีก 10 ชาติ ถ้ายังเลือกเหมือนเดิม คนแบบเดิมมา มันก็เป็นแบบนี้ วันข้างหน้าก็จัดการกันเองแล้วกันผมก็ไปแล้ว ขณะนี้เราไม่มีปัญหากับประเทศอื่น เว้นแต่มีปัญหากันเอง ทุกประเทศยังมาพบทุกวัน ไม่ว่าจะยังมีกฎอัยการศึก หรือการประกาศใช้มาตรา 44 ก็ตาม แต่เวลาที่เขาแสดงความเห็นเขาไม่ได้พูดที่นี่ ที่สำคัญมีการล็อบบี้การเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาลโดยใช้คำว่าประชาธิปไตยมาบีบ มีการใช้คำว่าบังคับขู่เข็นใช้กฎอัยการศึก

อย่างวันนี้อ่านข่าวพาดหัวของสำนักข่าว CNN ที่ระบุว่าผมใช้อำนาจเต็มตามมาตรา 44 จะสั่งประหารนักข่าว ชึ่งผมอยากให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และผมก็จะให้สัมภาษณ์น้อยที่สุด ถ้ายังไม่มีการปรับปรุงตัว แล้วก็มาบอกให้ใจเย็นๆ เพราะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง หากคนเหล่านั้นยังมาปรามาส ผมก็จะพูดให้หมดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทุกคนต่างมีแผลเหมือนกัน

"ที่ผ่านมาผมได้บอกกับต่างประเทศเสมอว่าขอเวลาให้คนไทย จะทำให้ทุกองค์กร ทุกหน่วยงาน แต่พอเริ่มทำก็มีปัญหา เพราะเขาไม่รู้ เห็นเพียงว่าบ้านเมืองเราสวยงาม แต่ไม่รู้ว่าบ้านเราเป็นโพรง ตอนนี้เรากำลังเติมอิฐเติมทรายแต่ก็มีคนเอาน้ำมาราดตอนที่ยังไม่แห้ง คนพวกนี้ไม่ควรอยู่ในแผ่นดินอีกต่อไป ผมเองบังคับไม่ได้ว่าใครจะชอบหรือไม่ชอบ

ผมผมทนไม่ได้ที่จะให้ทำลายประเทศต่อไป วันนี้ผมพูดไม่เกรงใจใคร ในเมื่อไม่เกรงใจผมผมก็ไม่เกรงใจ เพราะผมทำให้ประเทศผม ดังนั้นคนที่ต่อต้าน ลองลงไปดูมีเบื้องหลังทั้งนั้น ผมไม่เคยละเมิดใคร และตั้งแต่ประกาศใช้กฏอัยการศึกหรือมาตรา 44 ก็ไม่มีคนตายสักคนจะมีก็แต่คนที่ใช้อาวุธมาต่อสู้เจ้าหน้าที่ ส่วนสื่อก็ไม่ได้ปิด ไม่เคยปิดสักเล่มหนึ่ง ต่อไปนี้ขอให้เขียนให้ดี ถ้าเขียนไม่ดีก็จำเป็นต้องเรียกมาพูดคุย เพราะผมไม่เคยกลัวใครอยู่ ถ้ากลัวคงไม่กล้าก็ยืนอยู่ตรงนี้ไม่ได้ ถ้าคิดว่าผมไม่ดีก็บอกผม ผมไปให้อยู่แล้ว

"ที่พูดนี่มีใครสงสัยอะไรไหม พอพูดไปแล้วก็มีอารมณ์นิดหน่อยเพราะวิจารณ์ผมเยอะมาก มาถามเรื่องเศรษฐกิจผมคนเดียวจะรู้ทุกเรื่องไม่ได้ ผมนี่รู้มากกว่าคนเศรษฐกิจอีก อะไรที่เป็นนโยบาย เป็นหลักการก็กำลังทำอยู่ วันนี้คนที่ทำเศรษฐกิจเขาไม่ได้ปกป้องอะไร ถามว่าวันนี้อะไรแพงขึ้นในรัฐบาลทหารถ้าบอกมะนาวแพง เดี๋ยวไปรับที่บ้านผม ถ้าอยากกินมะนาวเยอะๆ วันละสัก 20 ลูกหรือจะเอาไปปลูกก็ใส่กระถางไป นี่เรียกว่าพูดเปรียบเทียบให้ฟังว่าทุกคนต้องช่วยตัวเองได้ ไม่ใช่ตื่นมาก็เป็นพญาธิปากขอ ผมสอนลูกน้องผมแบบนั้น

ผมดูแลทั้งเสียงส่วนใหญ่และส่วนน้อย ที่เขาเรียกว่าประชาธิปไตย ให้ได้รับความพึงพอใจแต่จะเอาประชาธิปไตยมาแบ่งพวกกันไม่ได้ เพราะเมื่อแบ่งแล้วต้องแก้ปัญหาให้ได้ การต่อต้านเป็นเรื่องธรรมดาในประชาธิปไตย แต่เมื่อต่อต้านแล้วรัฐบาลต้องแก้ให้ได้ แต่จะมาชุมนุมยืดเยื้อ 6-10 เดือน และขอประกาศไว้เลยจะเกิดในสมัยผมไม่ได้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "อย่ามาทำให้ประเทศเดือดร้อน อย่ามาใช้คำว่าประชาธิปไตยตอนนี้ เพราะผมให้อยู่แล้ว มันเดือดร้อนอะไรตรงไหน มาเดือดร้อนกับคำว่าประชาธิปไตยอีกหรือ และประชาธิปไตยเดิมๆ วันหน้าท่านก็ไปอยู่กับเขาอีก เพราะฉะนั้นวันหน้าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือการเลือกตั้ง มีรัฐธรรมนูญ ผมก็ทำตามโรดแมปไม่เคยเลื่อน ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเมื่อไรที่มีรัฐธรรมนูญประมาณเดือนกันยายน ถ้ามันออกได้ แต่ตอนนี้ก็แทบฆ่ากันตายอยู่แล้ว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องเน้นเรื่องการปฏิรูปและธรรมาภิบาล ไม่ใช่ใช้แต่จินตนาการเท่านั้น แบบนั้นไม่ได้ อะไรที่เคยเป็นปัญหาในอดีตต้องแก้ได้ อะไรดีๆ ในรัฐธรรมนูญปี 2540-2550 เอามาใส่ถ้าแก้ปัญหาได้ และต้องแก้ไขได้ อะไรที่จะอยู่จนตายมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมาเขียนมาไม่เคยได้ใช้เพราะบังคับตัวเองกันไม่ได้ เสียดายโอกาส เวลาการเป็นศูนย์กลางอาเซียนแต่ไม่เคยทำได้ ผมจะทำให้ได้ไม่ได้ลอกใครแต่ปัญหาคือทำจริงหรือเปล่า ไม่ใช่แค่ทำรายงาน 3-4 แผ่นว่าทำไปและจบ อะไรที่ต้องตรวจสอบผมสั่งให้ตรวจทั้งหมด ผิดคือผิด อย่าบอกว่าไม่รู้ไม่ทราบ ทำผิดกฏหมายก็ต้องผิด เงินที่มันผิดกฎหมายก็คือผิดกฎหมาย จะมาบอกว่าคืนแล้วจบไปมันไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง หากใครเดือดร้อนก็ส่งเรื่องมาทำเนียบฯ ได้ผมรับหมด 

ส่วนข้าราชการผมสั่งการไปบางครั้งก็สับสน บางคนชอบก็ดีไปตั้งใจทำงาน ส่วนใครที่ไม่ชอบบอกเป็นรัฐบาลทหารไม่รู้เรื่องอะไร แต่พอไล่เรียงรายละเอียดไปๆ มาๆ ทหารรู้เรื่องกว่าคุณอีก รู้ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดผลไม่ใช่เอาแต่ในตำรา สุดท้ายนักเรียนโรงเรียนเสนาธิการทุกคน ขอช่วยให้ประเทศพัฒนา มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกล่าวจบนายกรัฐมนตรีร่วมถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก และเยี่ยมชมอาคารเรียน

ก่อนเดินทางกลับทำเนียบรัฐบาล นายกฯปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์พร้อมกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า "ไม่ได้โกรธหรอกนะ"
...

ความเห็นหนึ่งจากเวป...

คนเรา เวลาอยู่ในจุดที่พูดได้ฝ่ายเดียว แสดงออกได้ฝ่ายเดียว .. ก็เก่งได้แบบนี้แหละ ... ไม่ลองลงสมัครรับเลือกตั้งหน่อยเหรอ .. เผื่อจะได้ให้คนอื่นเขามีโอกาสพูดได้บ้าง .. ทำไมไม่ลองถามตัวเองหรือค้นความจริงให้ได้บ้างล่ะ .. เพราะอะไรถึงต้องทำงานด้วยความโกรธฉุนเฉียวได้ทุกวันไม่เว้น .. หาต้นเหตุได้ไม่ยากนะ

ooo
Thai junta chief says "won't stand for" criticism of military


Source: Reuter
By Amy Sawitta Lefevre

BANGKOK, April 3 (Reuters) - Thai junta chief Prayuth Chan-ocha defended a controversial security order two days after the junta lifted martial law and warned that he would not tolerate criticism of the Thai army, which retains sweeping powers under the new measures.

The United Nations human rights chief has expressed alarm over the new measures, saying martial law had been replaced with something "even more draconian", and other critics say the new measures give Prayuth absolute power.

Speaking at a military academy in Bangkok, Prayuth defended the measures introduced to replace martial law, saying they had been misunderstood by foreign media. He went on to issue a stern warning to critics of the armed forces or the state.

"If anyone says anything that causes damage to the Royal Thai Army or to the country I will not stand for it," Prayuth said. "I am not scared."

The ruling junta, known as the National Council for Peace and Order, lifted martial law late on Wednesday and in its place invoked Section 44 of the interim constitution.

The special security measures will continue to outlaw political gatherings and will allow authorities to censor the media. Those who take part in political gatherings of more than five people can be sentenced to up to six months in prison.

Thailand's army chief General Udomdej Sitabutr said on Thursday that the new security measure does not give the army more control than it had under martial law. But that has not stopped mounting criticism.

The Thai-language newspaper Thai Rath, which has close ties to the army, published a cartoon on Thursday that shows people holding anti-junta signs and junta chief Prayuth with another sign that says: "Good people are not scared of Article 44."

One sign in the cartoon held by a demonstrator reads: "Protest against those who delay elections."

The junta has pushed back a general election promised for 2015 to 2016.

Martial law was declared shortly before the military seized power on May 22 last year, following months of protests that destabilised the elected government of former Prime Minister Yingluck Shinawatra.

The army said martial law was necessary to maintain order.

Thailand's tourism industry suffered from months of protests in 2013/14 and from the May coup that followed. Many tourists were unable to get travel insurance while martial law was in place.

Prayuth said the new security measures would not deter visitors.

(Additional reporting by Pracha Hariraksapitak; Editing by Simon Cameron-Moore)

ooo

Reaction from the UN and the U.S. on "Thailand junta replaces martial law with absolute power"

UN rights chief slams Thai junta's use of repressive law

Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha

Source:  Associated Press
April 2, 2015

BANGKOK (AP) — The United Nations joined international rights groups Thursday in criticizing a decision by Thailand's military government to invoke a law that gives the junta chief near-absolute authority without any accountability.

Junta chief and Prime Minister Prayuth Chan-ocha on Wednesday lifted martial law, which he imposed shortly before taking power in a coup last year, and instead invoked Article 44 of a junta-imposed interim constitution, which allows him to take any measures to promote public order and unity. Thai officials said martial law was lifted because of foreign pressure.

U.N. High Commissioner for Human Rights Zeid Ra'ad Al Hussein said giving Prayuth unfettered authority "clearly leaves the door wide open to serious violations of fundamental human rights." His statement, issued in Geneva, noted that Article 44 not only effectively allows Prayuth to issue any legislative, executive or judicial order, but "also annihilates freedom of expression" by giving him extensive censorship powers.

"In effect, this means the sweeping away of all checks and balances on the power of the government, rendering the lifting of martial law meaningless," he said.

Both martial law and Article 44 provide legal underpinnings for actions taken in the name of law and order. But while martial law defines acceptable actions, such as arrests without warrants, censorship and bans on public gatherings, Article 44 is vaguer and more broadly worded, allowing the junta chief to take any action he deems necessary not only to maintain order but also "for the benefit of reform in any field and to strengthen public unity and harmony."

Deputy Prime Minister Wissanu Krea-ngam, a legal expert, said at a news conference Thursday that the junta, called the National Council for Peace and Order, will use Article 44 for three purposes: unity and reconciliation, reforms or preparation for reforms, and prevention of plans to harm the country's security.

"If the normal measures to create unity and reconciliation are slow or ineffective, and there is a need to create unity and reconciliation, the head of the NCPO might invoke Article 44 to issue an order to make unity and reconciliation happen," he said. "But how will he order, I don't know, because the situation has not happened yet."

The junta's efforts at reconciliation so far have gone little beyond holding street fairs in the early days of its rule. It summons critics for what it calls "attitude adjustment" and has a hand-picked committee secretly drafting a new constitution.

Wissanu explained that the junta considered employing less draconian statutes than martial law, including the country's International Security Act and a declaration of a state of emergency, but they also sounded severe to foreign observers. Thailand's tourism industry has been especially concerned about the image such terms evoke, even though military rule has had little day-to-day effect on tourists.

The London-based human rights group Amnesty International called the replacement of martial law with Article 44 "little more than a cynical exercise in the preservation of military power."

"Nothing has changed — this is an attempt to cast a veil over its determination to continue using military might to crush dissent," Richard Bennett, the group's Asia-Pacific director, said in a statement Thursday.

ooo


Thailand martial law replacement criticised by US

Gen Prayuth told Thais there was "no need to be afraid" if they were doing nothing wrong

Source:  BBC
2 April 2015

The US says the replacement of martial law with new emergency measures in Thailand does little to restore democracy in the military-run country.

Thailand's army, which took power in a coup in May, declared martial law over on Wednesday after almost a year.

But a section of the new constitution has been invoked instead under which the military retains significant power.

Critics have said Article 44 could lead to more draconian leadership and gives PM Prayuth Chan-Ocha unchecked power.

Security forces are still able to make arrests without warrants and detain people without charge, while Gen Prayuth - who led last year's coup - can rule by executive order in the name of national security.

The media remains heavily restricted and political gatherings of more than five people are still banned.

The US said it had wanted to see an end to detentions and the limits on freedom of expression.

"We are concerned that moving to a security order under Article 44 will not accomplish any of these objectives," a State Department official said.

"We would welcome the actual, full restoration of civil liberties in Thailand."


The army says martial law was essential for maintaining peace and security

The move was also criticised as inadequate within Thailand.

Thitinan Pongsudhirak, a political scientist and director of the Institute of Security and International Studies at Bangkok's Chulalongkorn University, told reporters Thailand was "functionally in the same boat".

"Similar restrictions are still in place. And where there are pockets of dissent and political expression it is likely to be more draconian."

The Thai military government - officially known as the National Council for Peace and Order - has promised to restore democracy and hold elections in late 2015, but there is concern it is consolidating its power before then.

Officials had said the civil restrictions were necessary to maintain stability after the political unrest that preceded the coup. But the government had come under increasing pressure both from rights groups and from the vital tourism sector to end martial law.

On Wednesday, Gen Prayuth insisted Article 44 would be "exercised constructively", telling Thais: "Don't worry, if you're not doing anything wrong, there's no need to be afraid."