วันอาทิตย์, เมษายน 12, 2558

Trickery and False Promises in Thailand (มีพากษ์ไทย)


Gen. Prayuth Chan-ocha, center.CreditSakchai Lalit/Associated Press

By Editorial Board
NY Times

In a cynical sleight of hand, Thailand’s military junta lifted martial law last week only to replace it with even more draconian powers for the ruling military junta led by Gen. Prayuth Chan-ocha.

This is not what Thailand’s friends and allies, including the United States, had in mind when they encouraged the junta to lift martial law imposed after a military coup last May. No one should be fooled by this move, designed more to provide a political fig-leaf for foreign investors and for Thailand’s tourism industry, which is suffering because tourists have trouble getting travel insurance for countries under martial law. It has little to do with restoring democracy.

After seizing power last year, General Prayuth promised elections and a return to civilian rule of law. Not only do those promises remain unfulfilled, but General Prayuth, in place of martial law, has now granted himself sweeping executive, legislative and judicial powers under Article 44 of Thailand’s interim Constitution.

Under Article 44, military personnel down to the rank of second lieutenant may be appointed as “peace and order maintenance officers,” with the power to search, arrest and detain people with no judicial oversight. Since the May coup, more than 1,000 academics, activists, politicians and bloggers have been detained or sent to Thai military installations for “attitude adjustment.”

General Prayuth also now claims “the power to close down the media, arrest people, order for people to be shot.” He said recently with apparent seriousness that he would “probably just execute” journalists who did not toe the government’s line. The United States, the United Nations, the European Union and human rights groups were quick to condemn the general’s remarks.

Back in January, Daniel Russel, the assistant secretary of state for East Asian and Pacific affairs, delivered a message from President Obama warning Thailand’s military junta it was “losing credibility in the eyes of its international friends and partners by not moving more quickly to end martial law.”

General Prayuth appears to have heard the part about martial law but apparently did not choose to hear the rest of the message, which urged the restoration of civil rights, the drafting of a new constitution with democratic participation, and free elections.

Those are the main ingredients of any plausible strategy to heal the political and regional divisions that have fomented political chaos and now risk transforming Thailand, a major regional power, into a pariah state.



คำมั่นที่เจ้าเล่ห์ และมดเท็จในประเทศไทย

ข้อคิดเห็นโดย กองบรรณาธิการ*

ด้วยน้ำมือที่เจ้าเล่ห์ เอาเปรียบ คณะยึดอำนาจประเทศไทยยุติการใช้กฏอัยการศึกเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เพียงเพื่อจะทดแทนด้วยกฏหมายรุนแรงยิ่งกว่า ไว้สำหรับหัวหน้าคณะทหารผู้ปกครอง นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นี่ไม่ใช่สิ่งที่เพื่อนและมิตรประเทศ รวมทั้งสหรัฐมุ่งมาด เมื่อชาติเหล่านั้นกระตุ้นให้คณะทหารยกเลิกกฏอัยการศึกที่นำออกใช้ต่อจากการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมที่แล้ว ไม่ควรจะมีใครหลงเชื่อต่อการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ที่เพียงกำหนดขึ้นเพื่อบังใบทางการเมืองให้ดูดีสำหรับนักลงทุน และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อันเนื่องมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถหาประกันภัยได้คล่องในประเทศที่ใช้กฏอัยการศึก มันไม่ได้มีผลอะไรมากนักเลยต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตย

หลังจากที่ยึดอำนาจการปกครองเมื่อปีที่แล้ว พล.อ. ประยุทธ์ให้คำมั่นว่าจะกลับไปสู่การเลือกตั้ง และคืนสู่การบังคับใช้กฏหมายโดยพลเรือน ไม่เพียงแต่คำสัญญาเหล่านั้นถูกละเลย สิ่งที่มาแทนที่กฏอัยการศึกก็คือ พล.อ.ประยุทธ์มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้แก่ตนเอง ทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ภายใต้มาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว

ตามบัญญัติแห่งมาตรา ๔๔ ให้แต่งตั้งทหารระดับนายร้อยขึ้นไปเป็น เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย มีอำนาจในการตรวจค้น จับกุม และคุมขังบุคคลได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจศาล นับแต่รัฐประหารในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา มีนักวิชาการ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักเขียนบล็อก นับพันคนถูกกักกันตัว และส่งเข้าไปในค่ายทหารเพื่อ ปรับทัศนคติ

บัดนี้พล.อ.ประยุทธ์ยังได้รับ “อำนาจในการสั่งปิดสื่อ จับคุมผู้คน และสั่งยิงใครๆ ได้ เมื่อเร็วๆ เขาพูดทีเล่นทีจริงว่า เขาอาจจะสั่งประหารชีวิตนักหนังสือพิมพ์ที่ไม่ยอมทำตามแนวทางของคณะรัฐประหารเสียก็ได้” คำพูด (พล่อย) ของท่านนายพลดังกล่าว ถูกทางการสหรัฐ สหประชาชาติ สหภาพยุโรป และองค์กรสิทธิมนุษยชน ประณามทันควัน

ย้อนไปเมื่อเดือนมกราคม แดเนียล รัสเซิล ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศภาคพื้นเอเซียตะวันออกและแปซิฟิคของสหรัฐ ได้นำถ้อยเตือนจากประธานาธิบดีโอบาม่าไปแจ้งแก่คณะยึดอำนาจปกครองของไทยว่า “พวกเขากำลังเสียความน่าเชื่อถือไปในสายตาของมิตรประเทศและคู่ค้านานาชาติ จากการที่ไม่ยอมเร่งมือดำเนินการยุติกฏอัยการศึก”

ดูเหมือนว่าพล.อ.ประยุทธ์จะได้ยินแต่ส่วนเดียวของข้อความเพียงคำว่ากฏอัยการศึก แต่เลือกที่จะไม่รับฟังเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งหนุนให้นำหลักการสิทธิมนุษยชนกลับคืนมา และร่างรัฐธรรมนูญบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมในทางประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง

เหล่านั้นเป็นเครื่องปรุงหลักสำหรับยุทธศาสตร์ที่เป็นจริงได้ ในการเยียวยาการแตกแยกทางการเมืองและภูมิภาค ที่หมักหมมความรุนแรงทางการเมือง และขณะนี้เป็นความเสี่ยงที่จะแปลงเปลี่ยนให้ประเทศไทยที่เคยเป็นพลังเด่นแห่งภูมิภาค กลับกลายเป็นรัฐน่ารังเกียจไปก็ได้

*หมายเหตุ แต่ละบทความที่แสดงข้อคิดเห็นโดยกองบรรณาธิการ หรือบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทมส์ จะได้รับความเห็นชอบ และ/หรือ ร่วมกันเขียนโดยบรรณาธิการในคณะไม่ต่ำกว่า ๔-๕ คน อันต่างกับบทวิจารณ์ หรือรายงานข่าวทั่วไป ที่มักเขียนโดยผู้สื่อข่าวหรือนักวิชาการคนใดคนหนึ่ง บทบรรณาธิการนี้จึงเป็นที่กล่าวถึงในแวดวงผู้ติดตามพัฒนะกรณีประเทศไทยว่ามีนัยยะอันสำคัญอย่างยิ่งต่อสถานะประเทศไทยในสายตาอเมริกัน