วันอังคาร, พฤษภาคม 19, 2558

บันทึก “พฤษภาเลือด'53” แผน ศอฉ.ปิดประตูตีประชาชน ไขคำตอบ ใครสั่ง-ใครฆ่า-ใครบัญชาการ?



ที่มา ที่นี่และที่นั่น
May 18, 2015

เหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชน ด้วยกำลังทหารและอาวุธสงครามร้ายแรงครั้งประวัติศาสตร์ 19 พฤษภาคม 2553 นับเป็นเหตุการณ์การใช้ครวามรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับประชาชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ครั้งนั้น “รัฐบาล” นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)” โดยมอบหมายให้ “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” รองนายกรัฐมนตรี(ในเวลาต่อมาผันตัวเองเป็นแกนนำม็อบ กปปส.) ให้เป็น “ผู้อำนวยการ ศอฉ.” บัญชาการการดำเนินการดังกล่าว

ซึ่งเฉพาะเหตุการณ์สลายการชุมนุมดังกล่าว ได้มีการสั่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมและบุกเข้าสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง ทั้งๆที่ผู้ชุมนุมมาเรียกร้อง เพียงของให้ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น “ถูกกล่าวหา” ว่า “จัดตั้งขึ้นในค่ายทหาร” ทั้งๆที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ไม่ได้รับชัยชนะอันดับที่ 1 ในการเลือกตั้งจากประชาชน

เหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนด้วย กำลังทหาร พร้อมอาวุธสงครามและรถหุ้มเกราะ ครั้งดังกล่าวเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 จนกระทั่งเช้ามืดวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 “ศอฉ.” จึงเริ่มการโจมตีเต็มรูปแบบ ส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก

โดยพบว่าในกระบวนการสลายการชุมนุมครั้งดังกล่าว “หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน” หน้าที่ 2 ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ได้บันทึกเอาไว้ในบทความเรื่อง “แผน “ศอฉ” ปิดประตูตีม็อบ “อนุพงษ์-ประยุทธ์-ดาว์พงษ์” บัญชาการ”

ซึ่งได้ระบุถึง “หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงสถานการณ์การสกลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม โดยหลังจากเกิดการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง มีผู้บาดเจ็บหลายสิบคนและเสียชีวิต 1 คน ขณะเดียวกันกลุ่มองค์กรทางสังคมต่างได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรงและกลับมานั่งเจรจาอีกหน”

เนื้อหาระบุว่า “จากสถานการณ์ช่วงเช้าถึงเที่ยวที่ผ่านมา สามารถเคลียร์พื้นที่ด้านใต้สะพานลอยไทย-เบลเยี่ยมและควบคุมได้ ขณะนี้กำลังกำหนดตั้งด่านอีกครั้งบริเวณถนนวิทยุลักษณะด่านรูปตัวแอลคือ ด้านหนึ่งป้องกันการยิงเข้ามาจากพื้นที่สวนลุมพินี ขณะนี้ประจักษ์ว่าพื้นที่นี้มีผู้ที่มีอาวุธสงครามอยู่ตลอด ส่วนอีกด่านต้องบล็อกถนนวิทยุ เพราะมีแก๊งค์มอเตอร์ไซด์กวนเมืองงพยายามเข้ามาเติมในสวนลุมพีนีด้านหลังของด่านต่างๆ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเสร็จหมดแล้ว และให้หยุดปฏิบัติภารกิจ แต่ให้เน้นการรักษาด่านที่สามารถสถาปนาไว้ได้

พื้นที่ถนนพระราม 4 บริเวณแยกบ่อนไก่มีการพยายามสร้างสถานการณ์วุ่นวายจุดไฟเผายางรถยนต์ ยิงจากสวนลุมฯ ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนบ่อยครั้ง โดย ศอฉ.กำลังพิจารณาว่าจะเกิดผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้ถนน ขณะนี้ผู้บังคับบัญชาในพื้นที่กำลังรายงานข้อมูลมาที่ ศอฉ.

ดังนั้นอาจมีความจำเป็นขอผิดเส้นทางจราจรเพิ่ม ถนนพระราม 4 ตั้งแต่สามย่าน-แยกงามดูพลี โดยจะตัดสินใจเร็วนี้ หากปิดถนนจริงจะประกาศให้ทราบ

แกนนำผู้ชุมนุมที่รู้สึกพร้อมรับการตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรมก็มาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจ ระหว่างท่านและเจ้าหน้าที่รัฐพร้อมเข้าสู่กระบวนการเหมือนกัน

ขอวิงวอนคนเสื้อแดงที่เรียกร้องเรื่องความไม่เสมอภาคที่มีประสงค์ให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น ขอให้แยกตัวออกมายุติการชุมนุมเรื่องราวการร้องเรียนสามารถแก้ปัญหาด้วยการพูดคุย เป็นคณะกรรมการหรือองค์กร เพื่อให้เหลือแต่บุคคลที่ประสงค์ความรุนแรงอยู่ในพื้นที่เท่านั้น เจ้าหน้าที่จะดำเนินการได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ยังถือว่ามีเวลาเพราะอยู่ในช่วงปิดล้อมพื้นที่ เรายังไม่คิดถึงการสลายการชุมนุมในวันนี้ (14 พ.ค.) ซึ่ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รอง ผบ.ทบ.) และ พล.ต.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบก ได้ติดตามสถานการณ์ที่ห้องปฏิบัติการสถานการณ์ ส่วน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์อยู่ห้องข้างๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายชัดเจน

โดยการปฏิบัติได้ให้เสรีต่อหน่วยที่ปฏิบัติงาน พล.อ.อนุพงษ์ ได้เน้นย้ำต่อผู้ปฏิบัติให้ระวังการใช้อาวุธ โดยพยายามอย่าให้เกิดความสูญเสีย และอย่าให้เขาเห็นว่าทหารกระเหี้ยนกระหือรือที่จะใช้อาวุธ ทั้งนี้ ผบ.ทบ.สั่งเจ้าหน้าที่ให้ระมัดระวังแนวด่านที่สามารถสถาปนาได้แล้ว เพราะมีการประเมินว่าในคืนวันที่ 14 พฤษภาคม จะเกิดเหตุรุนแรงจากฝ่ายกองกำลังของ นปช.แน่นอน เพราะเขาต้องการเอาคืนพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ตรึงกำลังไว้

สำหรับการปฏิบัติครั้งนี้เราใช้กำลังจากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ โดยมี พล.ต.สุรศักดิ์ บุญศิริ ผบ.พล.ม.2 รอ.เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ตรึงกำลังด่านของเจ้าหน้าที่ แต่การสั่งการในภาพรวม ศอฉ.มอบให้ พล.อ.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ดูแลในภาพรวมการสั่งใช้กำลังทั้งหมด

0 การปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ช่วงดึกจะยุติใช่หรือไม่ ?

ขณะนี้ยุติแล้ว แต่เรากังวลหากมีความวุ่นวายบนถนนพระราม 4 แยกบ่อนไก่ หากจราจรปกติประชาชนอาจะได้รับผลกระทบโดนลูกหลง จึงพิจารณาว่าจำเป็นต้องปิดเส้นทางสามย่าน-บ่อนไก่ ส่วนพื้นที่สีสมได้เพิ่มกำลังไปแล้ว ตรงจุดนั้นจะมีเส้นสาทร พระรามที่ 4 และวิทยุ ซึ่งเราได้ปิดการจราจร แต่มีแก๊งมอเตอร์ไซด์มาปิดซ้ำ ดังนั้น จำเป็นต้องมีด่านเพื่อสกัดเส้นทางบนถนนได้ เรายังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาดำเนินการได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพสถานการณ์ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่

ยืนยันว่าค่ำวันนี้จะไม่มีการสลายการชุมนุมเพียงแค่มีการตรึงกำลังปิดล้อมพื้นที่ถนนวิทยุไว้เท่านั้น โดยตรึงกำลังในด่านที่สถาปนาได้แล้ว เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาปิดล้อมเจ้าหน้าที่ได้อีก
สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รายงานเข้ามาว่าสามารถดูแลสถานการณ์ได้ เพราะมีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อยู่ในพื้นที่แล้ว”

ช่วงเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 “ศอฉ.” ก็ได้ส่งกำลังทหาร พร้อมอาวุธสงคราม ครบมือ พลแม่นปืน และรถหุ้มเกาะบุกเข้าสลายการชุมนุมของประชาชน จนเกิดความเสียหาย มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

แล้วก็เป็น “ฝ่ายประชาชน” ที่ต้องตกเป็น “ฝ่ายถูกปิดประตูตี”

ซึ่งท้ายที่สุดก็เป็น “ฝ่ายประชาชน” ที่กลายเป็น “ผู้เสียหาย-บาดเจ็บและเสียชีวิต” ในเหตุการณ์ดังกล่าว!!