วันอังคาร, พฤษภาคม 05, 2558

ดิ้นไม่หลุด!! เมื่อกลิ่นศพแรงงานทาสชาวโรฮิงญาหลายสิบศพ โชยกลิ่นเน่าเหม็นคลุ้งไปทั่วโลก สหรัฐและอียู จ่อคว่ำบาตรหนัก ซ้ำโลกไม่เชื่อถือว่ารัฐบาลทหารจะแก้ปัญหาการค้ามนุษย์




ที่มา

ประเทศไทยในสื่อนอก

ดิ้นไม่หลุด!! เมื่อกลิ่นศพแรงงานทาสชาวโรฮิงญาหลายสิบศพ โชยกลิ่นเน่าเหม็นคลุ้งไปทั่วโลก ทั้งสหรัฐและอียู จ่อคว่ำบาตรหนัก กระทบส่งออกหลายหมื่นล้านบาท ซ้ำโลกไม่เชื่อถือว่ารัฐบาลทหารจะแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ที่ชัดเจนว่า “กลุ่มทุนผูกขาดของไทย” คือแหล่งใหญ่ของการค้าทาสยุคใหม่!!

Wall Street Journal (3 พฤษภาคม 2015) รายงานว่า การต่อสู้ดิ้นรนของคณะรัฐประหาร ที่ยึดอำนาจปกครองไทยขณะนี้ ในการที่จะชะล้างความเสื่อมเสียชื่อเสียง ที่ไทยเป็นแหล่งค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อมีการไปเจอศพหลายสิบศพ ในค่ายกักกันกลางป่า ที่เจ้าหน้าที่สงสัยว่าพวกลักลอบค้ามนุษย์ใช้เพื่อซุกซ่อนผู้อพยพจากเมียนมาร์ และบังคลาเทศ

หลุมศพถูกพบเมื่อวันศุกร์ บริเวณยอดเขาใกล้กับชายแดนของไทย-มาเลเซีย หลังจากมีการให้เบาะแสว่าพวกค้ามนุษย์กักตัวคนไว้ระหว่างรอการจ่ายเงินค่าไถ่ จากญาติที่ล่วงหน้าไปรอที่มาเลเซียแล้ว สาเหตุการตายยังไม่มีการชี้ชัด แต่เจ้าหน้าที่สอบสวนตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการตายจากโรค หรือการอดอยาก

เจ้าหน้าที่สอบสวน ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า พวกค้ามนุษย์ขนคนมาทางเรือ จากเมียนมาร์ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา ที่เป็นมุสลิม โดยใช้ไทยเป็นจุดขนถ่ายคน ก่อนข้ามชายแดนเข้าไปในมาเลเซีย เจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ในแต่ละปี มีคนหลายพันคน ผ่านเข้าไปในประเทศมาเลเซียด้วยวิธีนี้ มันเป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยอันตรายข้ามมหาสมุทรจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นที่ที่ชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธความเป็นพลเมืองและมักต้องอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย

เจ้าหน้าที่บอกว่า บางคนที่ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง จะถูกกักกันตัวไว้เป็นเวลาหลายเดือนในค่ายกลางป่า ขณะที่ญาติของพวกเขาตะเกียกตะกาย หาเงินค่าไถ่ตัวมาจ่าย บ้างก็ถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้ค่าจ้างบนเรือประมงในละแวกนั้น

ปัญหานี้ มีมายาวนาน และส่งผลให้มีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังกับประเทศไทย ซึ่งขณะนี้กำลังต้องดิ้นรนแก้ปัญหาการส่งออกที่ หดตัว และการบริโภคที่ชะลอตัว หลังจากที่มีการรัฐประหารโดยคณะทหาร ในเดือนพฤษภาเมื่อปีที่แล้ว

สหภาพยุโรป ได้ขู่ที่จะห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากไทย ที่มีมูลค่าถึง 700,000,000 เหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 2 หมื่นล้านบาท) ถ้าไทยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าได้ปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรม ซึ่งกำลังเผชิญกับข้อกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงาน ทาสและความรุนแรง ประเทศเบลเยียมให้เวลาไทยหกเดือนในการขจัดความสกปรกโสมมนี้ในอุตสาหกรรม

ปีที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐปรับลดอันดับของประเทศไทย ลงไปอยู่ชั้น 3 ซึ่งเป็นอันดับต่ำสุด ของ TIP (Trafficking in Persons หรือการค้ามนุษย์) ในรายงานประจำปี ที่สำคัญคือ ประเทศไทย เป็นทั้งจุดหมายปลายทางของการค้ามนุษย์ เป็นแหล่งค้ามนุษย์ และยังเป็นจุดขนถ่ายคนในขบวนการค้ามนุษย์อีกด้วย

รายงานฉบับดังกล่าว ได้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย อย่างเช่น ผู้อพยพไร้รัฐชาวโรฮิงญา มีความเสี่ยงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์ ทางการไทยพบชาวโรฮิงญาหลายร้อยคน ในเดือนมกราคม 2014 ใกล้กับจุดที่พบหลุมศพในภาคใต้ของไทยที่ถูกค้นเจอเมื่อวันศุกร์

ประเทศไทย ยังอาจจะตกต่ำลงอีก ในการที่ไปพัวพันในเรื่องอื้อฉาวการค้ามนุษย์ต่อไป การส่งออกหดตัวลงทั้งในปี 2013 และปี 2014 และหดตัวลงเรื่อยๆ ในแต่ละไตรมาสของปีนี้ ใน สัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับลดดอกเบี้ยลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง เพื่อให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง และพะยุงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้การลงทุนของไทยในต่างประเทศง่ายขึ้น และเพื่อกดค่าเงินบาทลง เพื่อให้แข่งขันได้เมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียและเวียดนาม

พล.ต.ท. จรัมพร สุระมณี กล่าวกับผู้สื่อข่าว เมื่อวันอาทิตย์ ว่าตำรวจท้องที่กำลังขยับประเด็นการสืบสวนไปดูในกลุ่มทุนผูกขาด ที่รับรองการค้ามนุษย์นี้ เขากล่าวว่าการพบศพเมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็น ชาย 25 ศพ และ หญิง 1 ศพ ซึ่งอาจจะเสียชีวิตในช่วงเวลาที่แตกต่างกันในระยะเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และการชันสูตรศพที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อตรวจสอบหาสาเหตุการตายที่แท้จริง และเพื่อช่วยระบุหาอัตลักษณ์บุคคล บางศพเน่าเปื่อยมากแล้ว

ผู้ที่รอดชีวิต มีสภาพผอมโซ ถูกพบใกล้ที่เกิดเหตุ ขณะนี้กำลังเข้ารักษาในโรงพยาบาล

โฆษกรัฐบาลไทย พลเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด กล่าวว่าคณะรัฐประหาร มุ่งมั่นที่จะยุติขบวนการค้ามนุษย์ให้ได้ และนำผู้มี่ส่วนเกี่ยวข้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

http://www.wsj.com/…/mass-gravesite-highlights-thailands-pe…
ooo

สถานการณ์โรฮิงญา การเดินทางของผู้อพยพจากบ้านเกิดสู่ความตาย
Mon, 2015-05-04
ที่มา ประชาไท

ศิววงศ์ สุขทวี
ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ

ความเป็นมา
จากการขยายผลภายหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจหัวไทรจับกุมนายอานัว ชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ตามหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชในคดีฉ้อโกง โดยตำรวจภูธรนครศรีธรรมราชได้ประสานกับชุดสืบสวนกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรสงขลา เข้าจับกุมตัวไว้ได้เมื่อคืนของวันที่ 28 เมษายน ที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

โดยมีผู้เสียหายได้แจ้งความว่าหลานของตนได้ถูกกักขัง และต่อมาได้ถูกสังหารในพื้นที่อำเภอปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา เนื่องจากไม่พอใจที่ผู้เสียหายเข้าแจ้งความ ทำให้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งสืบสวนหาศพที่ถูกฝังในพื้นที่บ้านตะโล๊ะ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2558 พบหลุมศพ 32 หลุม ขุดเจอศพทั้ง 2 วันรวมกันทั้งหมด 26 ศพ เป็นชาย 25 ศพ เป็นหญิง 1 ศพ และยังพบผู้ป่วยขาดอาหารอีก 1 คน (ข้อมูลจาก ศูนย์กู้ชีพกู้ภัยไม้ขม)

การพบหลุมฝังศพกว่า 32 หลุม และศพชาวโรฮิงญา 26 ศพ เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลในระยะเวลาที่ผ่านมาในการเผชิญหน้ากับปัญหาชาวโรฮิงญา ซึ่งบางส่วนเป็นชาวบังคลาเทศที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย โดยเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เกิดเหตุการณ์ปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างชาวพม่ายะไข่กับชาวโรฮิงญา มีชาวโรฮิงญากว่า 150,000 ถูกทำให้ต้องพลัดถิ่นฐานจากบ้านของตัวเอง จากตัวเลขของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประมาณการว่า ชาวโรฮิงญาที่อพยพหนีออกจากรัฐยะไข่ ในปี 2556 มีจำนวน 40,000 คน และในปี 2557 เพิ่มขึ้นมากกว่า 53,000 คน

ผู้อพยพชาวโรฮิงญาเหล่านี้มีทางเลือกในการอพยพออกจากบ้านเกิดของตนไม่มาก เมื่อบังคลาเทศ ประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกของพม่าไม่สามารถแบกรับการอพยพเข้ามาของชาวโรฮิงญาเพิ่มเติมจากจำนวนที่มีอยู่แล้วมากกว่า 200,000 คน ขณะที่การเดินทางหลบหนีไปยังพื้นที่อื่นๆ ของพม่าก็ถูกจำกัดจากนโยบายของรัฐบาลพม่าที่จำกัดการเดินทางของชาวโรฮิงญา จึงทำให้เหลือเส้นทางเดียวที่จะเดินทางอพยพหนีออกจากบ้านเกิดของตน คือการลงเรือมุ่งหน้าลงใต้สู่อ่าวเบงกอล จำนวนมากเดินทางต่อเนื่องมาถึงอันดามันเลียบชายฝั่งเข้าสู่ประเทศไทย บางส่วนอาจเดินทางต่อไปยังประเทศสู่มาเลเซีย บางส่วนอาจไปถึงอินโดนีเซีย

ตัวเลขการเสียชีวิตของชาวโรฮิงญาที่พบศพชัดเจน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และมาสูงสุดในปีนี้ แม้ว่าตัวเลขการจับกุมจะลดลงมาโดยตลอด นับตั้งแต่มกราคม 2558 มีการจับกุมชาวโรฮิงญาในประเทศครั้งใหญ่ และเป็นการจับกุมที่ทำให้หลายคนเริ่มเห็นความรุนแรงที่ชาวโรฮิงญาต้องเผชิญระหว่างเดินทางเข้ามาในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 11 มกราคม ในพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการจับกุมรถกระบะ 5 คัน บรรทุกชาวโรฮิงญาจำนวน 98 คน 1 ในนั้นซึ่งเป็นหญิงสาวพบว่าเสียชีวิตอยู่ภายในรถ ต่อมามีผู้เสียชีวิตอีก 2 คน การเสียชีวิตของชาวโรฮิงญา 3 คนในพื้นที่อำเภอหัวไทร นับเป็นชาวโรฮิงญา 3 ศพแรกของปี 2558 เมื่อรวมกับศพที่ถูกพบในระว่าง 1-2 พฤษภาคม ทำให้ 5 เดือนแรกของปี 2558 พบศพชาวโรฮิงญาเพิ่มเป็น 29 ศพ ขณะที่ทางเครือข่ายช่วยเหลือโรฮิงญา จังหวัดสงขลา ซึ่งติดตามและให้ความช่วยเหลือโรฮิงญา พบว่าในปี 2557 ทางเครือข่ายฯ ได้รับการประสานงานให้ฝังศพชาวโรฮิงญา 10 ศพ และในปี 2556 อีก 8 ศพ ซึ่งไม่นับรวมเหตุการณ์ในปลายปี 2556 ที่มีการพบ 15 ศพ ลอยอยู่ในน่านน้ำไทย บริเวณจังหวัดระนอง ทุกคนถูกบอกว่าเป็นแรงงานชาวพม่า แต่ชาวโรฮิงญาที่พบในพื้นที่และในช่วงเวลานั้นกลับยืนยันว่าการเสียชีวิตของเพื่อนเกิดระหว่างการถูกผลักดันออกนอกประเทศทางจังหวัดระนอง

ความซับซ้อนของการอพยพลักลอบข้ามชายแดนมีมากขึ้น เมื่อผู้อพยพต่างสมัครใจที่จะเดินทางโดยอาศัยเครือข่ายขบวนการนอกกฎหมาย อาจมีบางคนที่ถูกบังคับ แต่ส่วนใหญ่เดินทางเข้ามาโดยสมัครใจ แต่เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทยกลับพบว่า พวกเขาถูกควบคุมกักขังโดยคนของขบวนการอีกกลุ่มซึ่งพยายามติดต่อญาติพี่น้องให้ส่งเงินมาไถ่ตัว หลายคนโชคดีที่ญาติพี่น้องหาเงินมาไถ่ตัวได้ และขบวนการก็ส่งตัวออกไป แต่อีกจำนวนมากไม่ได้โชคดีเช่นนั้น พวกเขาถูทุบตี ถูกทำร้ายร่างกาย อดอาหาร หลายคนไม่รอดชีวิต การจับกุมที่เกิดขึ้นหากเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีความพยายามขยายผลต่อ ก็จะเอาผิดได้แค่คนขับรถที่จะถูกพิพากษาว่ามีความผิดในการนำพาต่างด้าวเข้ามาในประเทศ อาจติดคุกไม่กี่ปี หรืออาจไม่ติด หากได้ทนายที่มีความสามารถ ส่วนความผิดการค้ามนุษย์ก็จะถูกพิจารณาว่าไม่เข้าข่ายองค์ประกอบ ศาลก็จะพิจารณายกฟ้อง และขบวนการก็ดำเนินการต่อ

การพยายามใช้กระบวนการกฎหมาย หยุดยั้งขบวนการค้ามนุษย์
ความพยายามหยุดยั้งขบวนการค้ามนุษย์ที่หลอกและนำพาชาวโรฮิงญาเข้ามาในประเทศโดยกฎหมาย ยังไม่เห็นแนวโน้มความสำเร็จที่ชัดเจนนัก แม้จะมีความพยายามของเจ้าหน้าที่ทั้งของเจ้าหน้าที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ภาค 6, ฝ่ายปกครองในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา แต่ในพื้นที่อื่นๆ ตลอดชายฝั่งอันดามันตั้งแต่ระนองไปจนถึงสตูล กลับแทบไม่มีการขยายผลการจับกุมขบวนการแต่อย่างใด

การขยายผลของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และกองบังคับการตำรวจภาค 8 สุราษฎร์ธานี จากการจับกุมขบวนการลักลอบขนชาวโรฮิงญา 98 คน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2558 พร้อมผู้ต้องหาที่เป็นคนขับรถ 2 คน ต่อมาก็สามารถจับกุมได้เพิ่มอีก 2 คนเป็นไต้ก๋งเรือที่นำตัวชาวโรฮิงญาเข้ามา และอีกคนเป็นผู้จัดหารถ ขณะที่มีการออกหมายเรียกเจ้าของรถ และออกหมายจับคนอื่นๆ ในขบวนการ

การพยายามขยายผลการจับกุมอย่างจริงจัง ทำให้มีญาติของชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าแจ้งความว่าตนเองได้จ่ายเงินไถ่ตัวหลานชาย แต่นายหน้าก็ไม่ยอมเอาตัวมาให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงออกหมายจับและสามารถจับกุมนายหน้า คือ นายอานัว ได้ที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และขยายผลจนสามารถสืบทราบ และพบหลุมศพ 32 หลุม และศพ 26 ศพ ในบริเวณที่เป็นค่ายพักเถื่อนที่ควบคุมชาวโรฮิงญาไว้ในบริเวณเขาแก้ว บ้านตะโล๊ะ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของชุดสืบสวนที่มุ่งขยายผลในการจับกุมขบวนการที่นำพาชาวโรฮิงญาเข้ามาในประเทศ

เปิดข้อมูลมีชาวโรฮิงญาถูกฆ่าและฝังอีกเป็นจำนวนมากที่พื้นที่อำเภอตะกั่วป่า เรียกร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เร่งสอบสวนและจับกุมผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี
ต้องถือว่าเป็นการจับกุมคดีใหม่ ที่ไม่ได้มีเกี่ยวข้องโดยตรงจากคดีที่มีการจับกุม 98 คน ในพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีการจับกุมผู้ต้องหาไปแล้ว 4 คน ขณะที่มีความเป็นไปได้ว่ายังมีสถานที่ฝังศพอยู่อีกในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสอบสวนหญิงสาวชาวโรฮิงญา ซึ่งเห็นผู้คุมลงมือฆ่าน้องชายของตนระหว่างการถูกควบคุมบนเกาะไม่ไกลจากชายฝั่งอำเภอตะกั่วป่า โดยทางฝ่ายปกครองของอำเภอตะกั่วก็มีความพร้อมที่จะสำรวจ หากเจ้าหน้าตำรวจหัวไทรจะนำผู้เสียหายมาช่วยนำทาง

นอกเหนือไปจากการวางแผนจับกุมนายอนัส หะยีมะแซ อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เมื่อ 10 มีนาคม 2557 ระหว่างที่นำตัวชาวโรฮิงญามาส่งให้ญาติที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่อยู่ในการพิจารณาคดีของศาลจังหวัดสงขลา และกำลังขยายผลไปยังผู้มีอิทธิพลภายในจังหวัดสตูล แต่คดีที่จับกุมได้ในพื้นที่จังหวัดระนองและพังงากลับไม่มีความคืบหน้า ไม่สามารถขยายผลไปคนภายในขบวนการอื่นๆ ได้ ทั้งในการจับกุมคดีผู้หญิงและเด็กชาวโรฮิงญาเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ต้องหา และคดีที่มีการจับกุมชาวโรฮิงญา 134 คน ระหว่าง 11-13 ตุลาคม 2557 ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของอำเภอตะกั่วป่ายืนยันได้ว่า เป็นกลุ่มที่เข้ามาพร้อมกับชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุมได้ที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

การค้นพบศพชาวโรฮิงญา เป็นความสำเร็จท่ามกลางความพ่ายแพ้ของพวกเราทุกคนในการต่อสู้กับขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งฉกฉวยอาศัยความสิ้นหวังของชาวโรฮิงญาแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงชีวิตของผู้ใด การต่อสู้กับขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญายังคงเป็นสงครามที่ยังไม่จบง่ายๆ แม้เจ้าหน้าที่จะทำลายแหล่งที่พักของขบวนการในพื้นตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาได้ แต่ยังเหลือการต่อสู้ในอีกหลายจังหวัดตลอดชายฝั่งอันดามัน ยังมีอีกหลายคดีที่ต้องการทำงานอย่างหนักของเจ้าหน้าที่ในการขยายผลต่อไปอีก
ooo

Thailand Under Fresh Scrutiny After Mass Grave of Migrants’ Bodies Is Found

Mass gravesite found after tip-off that human-traffickers were holding people there


Source: The Wall Street Journal

By JAMES HOOKWAY
May 3, 2015

Thailand’s efforts to combat human trafficking have come under renewed scrutiny after the discovery of more than two dozen bodies from a jungle camp that authorities suspect smugglers used to hide migrants from Myanmar and Bangladesh.

The mass grave was found Friday at a hilltop site near Thailand’s border with Malaysia after a tip-off that human traffickers were holding people there while waiting for payments from relatives who had already made it to Malaysia, police said over the weekend. The cause of deaths has yet to be determined, but investigators said they suspect disease or starvation.

Investigators have previously said that traffickers ferrying people from Myanmar, especially ethnic Rohingya Muslims, use Thailand as a transit point before smuggling people across the border into Malaysia. Human-rights workers say thousands of people pass into Malaysia this way each year. It is a perilous journey across the ocean from Myanmar, where Rohingyas are denied citizenship and often live in refugee camps.

Some who don’t reach their final destination are kept, usually against their will, for months in jungle camps as their relatives scramble to secure ransom payments, authorities say. Others are forced to work without pay on fishing vessels in the region.

The trafficking problem poses potentially significant sanctions for Thailand’s economy, which is already struggling with dwindling exports and slowing consumption following a military coup in May last year. The European Union is threatening to ban some $700 million a year in seafood imports if Thailand doesn’t make a marked improvement in ensuring labor standards in an industry racked by allegations of slave labor and violence. Brussels has given Thailand six months to clean up the industry.

Last year, the U.S. State Department downgraded Thailand to Tier 3, the lowest possible ranking in its annual Trafficking in Persons report, which evaluates governments’ efforts to battle human trafficking. It noted that the country was a destination, source and transit point for trafficking.

The report pointed out that ethnic minorities such as stateless Rohingya migrants are especially vulnerable to exploitation. Thai authorities found hundreds of Rohingyas in January 2014 near where the gravesite in southern Thailand was discovered Friday.

“Trafficking of persons in Thailand has long been out of control,” said Brad Adams, Asia director of Human Rights Watch, who called on Thai officials to authorize an independent, United Nations-assisted probe into the camp and the trafficking trade behind it.

The country can ill-afford to be embroiled in further trafficking scandals. Exports shrank in both 2013 and 2014, and contracted further in each of the first three months of this year. In the past week, the central bank cut interest rates for the second successive month to help weaken the currency and buoy growth and made it easier for Thais to invest overseas to further nudge the baht down and make it more competitive against the currencies of neighbors such as Malaysia and Vietnam.

Police General Jarumporn Suramanee told reporters Sunday that local police are stepping up their investigation into suspected trafficking cartels to stamp out the trade. He said that the bodies discovered—25 male and one female—might have died at different times over the past few months and that autopsies would have to be performed to determine the exact cause of death and to help identify the corpses, some of which are badly decomposed.

An emaciated survivor who was found near the scene, meanwhile, is being treated at a hospital.

A spokesman for the Thai government, which says it has made advances in suppressing human trafficking, said the junta was determined to end people-smuggling and bring those involved to justice.

—Wilawan Watcharasakwet and Nopparat Chaichalearmmongkol contributed to this article.