วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 07, 2558

"เราเป็นคนไม่ใช่สัตว์"เสียงจาก"โรฮิงญา"วอน ยูเอ็น ตั้งค่ายอพยพในไทย


  https://www.youtube.com/watch?v=cg7yij0Zypk

เปิดโปง.ขบวนการค้ามนุษย์"โรฮิงญา" ร้อง ยูเอ็น ตั้งค่ายผู้อพยพในไทย

TUE, 05/05/2015 - 14:56 JOM
Thai Voice Media

นายอับดุล กาลัม ชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia เกี่ยวกับ ขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาในประเทศไทยว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งซื้อขายชาวโรฮิงญาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีนเวลานี้ เพราะมีชาวโรฮิญาที่อพยพหลบหนีการกดขี่ ทารุณ จากรัฐบาลพม่า และจากคนต่างศาสนาในรัฐยะไข่ เมืองอารากัน ในพม่ามา เพื่อที่จะมาหางานทำ มีอิสรภาพและสร้างชีวิตที่ดีในประเทศมาเลย์เซีย แต่ก็ต้องมาเจอกับขบวนการค้ามนุษย์ที่โหดร้ายทารุณอย่างมาก ที่มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง โดยกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันค้ามนุษย์โรฮิงญา จะมีอยู่ 3 กลุ่มคือ โรฮิงญา ที่อยู่ในเมืองไทย หรือมาเลย์เซียมานานแล้ว กลุ่มชาวบังคลาเทศ ที่อยู่ในเมืองไทย และมาเลย์ รวมทั้งคนไทย ที่ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่จะเป็นตำรวจ ด่่านศุลกากร และประชาชนทั่วไป ทั้งสามกลุ่มนี้ จะมีนักการเมืองท้องถิ่น หรือผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นในประเทศไทยที่ค้าขายตามแนวชายแดนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง โดยกลุ่มนายหน้าจะมีสายซึ่งเป็นชาวโรฮิงญาที่เมืองอาระกัน รัฐยะไข่ เป็นผู้ติดต่อและหลอกให้มาทำงานที่มาเลย์เซีย โดยบอกว่าจะเก็บค่าใช้จ่ายในการเดินทางเมื่อได้ทำงานที่มาเลย์เซียแล้ว หรือบางคนก็หลอกให้ขึ้นเรือมา เพื่อที่จะนำมาขายต่อ เมื่อมาถึงกลางทะเล ก็จะขายให้กับเจ้าของเรือประมง หรือไม่ก็ลอยลำอยู่กับเรือบรรทุกน้ำมันจนกว่าจะมีออร์เดอร์จากฝั่งว่าต้องการกี่คน ส่วนใหญ่จะขายกันที่คนละ 6-8 หมื่นบาท เมื่อขายได้จำนวน 30-40 คน ก็จะแบ่งลงเรือเร็วมาส่งที่ฝั่ง จากนั้นนายหน้าก็จะรับไปทำงาน นายจ้างบางคนก็ให้ทำงานโดยไม่จ่ายค่าแรงให้เพราะถือว่าซื้อมาขาดตัวแล้ว บางคนก็ทำร้ายทุบตีถ้าไม่ทำงาน หรือ บางคนเมื่อซื้อมาแล้วก็ไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง ขณะนี้ มีเรือที่บรรทุกโรฮิงญาลอยลำอยู่ในทะเล ประมาณ 5 ลำ มีโรฮิงญาอยู่ลำละ 30 - 50 คน รวมแล้วประมาณ 300 กว่าคน และที่อยู่ในเรือบรรทุกน้ำมันอีก ราว 2000 คน ที่รอรับออร์เดอร์จากบนฝั่งในประเทศไทย

นายกาลัม กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่ขึ้นฝั่งมาแล้ว ส่วนใหญ่จะถูกไปเก็บตัวรอส่งขายต่อ บริเวณชายแดนไทยมาเลย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในสวนยางของคนไทย ซึ่งเจ้าของสวนยางจะได้ค่าใช้เป็นสถานที่พักพิงด้วย ราคาขึ้นอยู่กับการตกลงกัน รวมทั้งบริเวณจังหวัดสตูล นครศรีธรรมราช ชุมพร กระบี่ แต่มากที่สุด จะเป็นที่ ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา จำนวนหลายพันคน ส่วนเหตุที่มีการพบศพโรฮิงญาเป็นจำนวนมากในสถานที่กักกันชาวโรฮิงญานั้น เป็นเพราะขณะที่อยู่บนเรือนั้น ไม่ได้กินอาหาร ถูกให้ทำงานหนัก ไม่ได้พักผ่อน เมื่อมาถึงฝั่งในสภาพที่ร่างกายอ่อนแอ และซูบผอมในที่กักกัน ทำให้ไม่มีคนซื้อ ขายไม่ได้ และนายหน้าก็ไม่มีอาหารให้ ไม่มียารักษา จึงทำให้เสียชีวิตกันเป็นจำนวนมาก และจะฝังกันในป่าตามที่ต่าง ๆ ทำให้พบหลายหลุมศพดังกล่าว

นายกาลัมกล่าวว่า ขณะนี้ รัฐบาลไทย ได้รับรายชื่อ ผู้ที่เป็นนายหน้า และเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลไทยจะดำเนินการอย่างไร แต่ความจำเป็นเร่งด่วนที่ ชาวโรฮิงญาต้องการขณะนี้คือ ต้องการให้ องค์การสหประชาชาติ ได้มาตั้งค่ายอพยพผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะให้การดูแลด้านสุขภาพ และสร้างบรรยากาศให้พออยู่ได้ โดยไม่ต้องถูกทารุณ ทำร้าย และกลายเป็นสินค้าจากบรรดานายหน้าที่อยู่ในขบวนการค้ามนุษย์ "พวกเราเป็นคนเหมือนกันกับพวกท่าน เราไม่ใช่สัตว์ หรือสิ่งของ ดังนั้นขอให้ช่วยเรา เราหนีการทารุณ ทำร้าย และการกดขี่จากรัฐบาลทหารพม่ามาแล้ว ถูกเข่นฆ่า ข่มขู่จากเพื่อนต่างศาสนิกในบ้านเมืองของเราเอง เราต้องการมีชีวิตที่เป็นอิสระและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีบ้างเท่านั้นเอง ขอจงโปรดเมตตา และช่วยเหลือเราด้วย ขอให้มองเราเป็นคนเหมือนกับพวกท่าน" นายอับดุล กาลัมกล่าว

( ติดตามการสัมภาษณ์ นายอับดุล กาเล็ม อย่างละเอียดได้ จาก รายการ เสียงไทย เพื่อเสรีภาพของคนไทย ทางคลิปสัมภาษณ์ Thaivoicemedia)

ooo

โรฮิงญา มนุษย์ที่ถูกลืม

https://www.youtube.com/watch?v=uEDElvtY_1Y

Published on Sep 11, 2012

เสวนา: ส่องสื่อผ่านมลายูมุสลิมชายแดนใต้ โรฮิงญา และบทเรียนจากสื่อในติมอร์ตะวันออกถึงอาเจ­ะห์ วิทยากรประกอบด้วย

นวลน้อย ธรรมเสถียร ผู้ผลิตภาพยนต์สารคดี "สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง"

อับดุล กาลัม สมาคมชาวโรฮิงญาแห่งประเทศไทย

ลินดา คริสตานดี บรรณาธิการสำนักข่าว Aceh Fedture และผู้เขียนหนังสือเรื่อง "ลัทธิทหาร และความรุนแรงในติมอร์ตะวันออก" (Militarism and Violence in Timor Leste)

ณ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน ถนนพญาไ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555