วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 13, 2558

ขอให้ "พล.อ.ประยุทธ์" หัวหน้า คสช. ประกาศออกมาชัดๆ ดังๆ เลยว่า "คสช.จะไม่สืบทอดอำนาจ" "เพราะเมื่อท่านพูดเราจะฟัง เมื่อท่านลงมือทำเราจะเชื่อถือ"




โดย ธนาพล อิ๋วสกุล
ที่มา FB

Thanapol Eawsakul

ความน่าสงสารของพวกนายพล ขุนศึก ในยุคนี้คือการเป็น "หุ่นเชิด" ให้นักการเมืองที่ไม่ยอมลงเลือกตั้ง อย่างนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และ นายไพบูลย์ นิติตะวัน คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) รวมทั้งแก๊งส์ 40 สว. ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาต่อท่ออำนาจตัวเองไปเรื่อย ๆ

ล่าสุดออกมาในนาม คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ในมาตรา 260 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ แก้ไขโดย สนช.

โครงสร้างของคณะกรรมการชุดนี้ออกแบบมาให้ ตำแหน่งประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ เป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" คนเดียวเท่านั้น

ทั้งนี้ สำนักข่าวอิศรา บอกว่า

"ได้รับการยืนยันมาก่อนหน้านี้ว่า เดิมที่การจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ มีการวางตัวให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานไว้แล้ว แต่มีหลายฝ่ายประเมินว่า ถ้าไปทำอะไรชัดเจนแบบนั้นเลย อาจจะทำให้บทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์โจมตีได้ว่า "เป็นความพยายามในการสืบทอดอำนาจ" และจะส่งผลกระทบถึงรัฐบาลชุดใหม่ด้วย จึงมีการออกแบบขั้นตอนและกระบวนการคัดเลือกประธานขึ้นมาให้ดูเป็นทางการและเปิดกว้างมากขึ้น โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ทั้ง 22 คน ดังกล่าว แทน และค่อยมีการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาทำหน้าที่ในภายหลังอีกครั้ง"

ว่ากันง่าย ๆ คนเหล่านี้คิดว่า การเอาพล.อ. ประยุทธ์ มาเป็น "หุ่นเชิด" แล้วพวกตนเข้าเป้นกรรมการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ (บวกกับบรรดา สว.ที่มาจากากรแต่งตั้งอีก 123 คน เลือกเลือกตั้ง 77 คน) ซึ่งจะมีอำนาจมากว่า ครม.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น จะสามารถอยู่ในอำนาจได้สะดวกหรอกหรือ

อำนาจที่แท้จริง ของคณะรัฐประหารชุดนี้อยู่แค่ ปืนและรถถังของกองทัพกระนั้นหรือ

ถ้าการสืบทอดอำนาจในประเทศไทยมันง่ายขนาดนี้ ถนอม กิตติขจร สุจินดา คราประยูร ก็คงยังมีอำนาจจนตายคาเก้าอี้แบบสฤษดิ์ ไปแล้ว

.........................
เจาะโครงสร้างกก.ยุทธศาสตร์ฯ "รัฏฐาธิปัตย์ซ่อนรูป" สืบทอดอำนาจ คสช.?

http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/40543-report_40543.html#.Vcs4YaUtxvQ.facebook

สอดคล้องกับ ข้อมูลชุดที่สาม ที่สำนักข่าวอิศรา ได้รับการยืนยันมาก่อนหน้านี้ว่า เดิมที่การจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ มีการวางตัวให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานไว้แล้ว

แต่มีหลายฝ่ายประเมินว่า ถ้าไปทำอะไรชัดเจนแบบนั้นเลย อาจจะทำให้บทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์โจมตีได้ว่า "เป็นความพยายามในการสืบทอดอำนาจ" และจะส่งผลกระทบถึงรัฐบาลชุดใหม่ด้วย

จึงมีการออกแบบขั้นตอนและกระบวนการคัดเลือกประธานขึ้นมาให้ดูเป็นทางการและเปิดกว้างมากขึ้น โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ทั้ง 22 คน ดังกล่าว แทน และค่อยมีการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาทำหน้าที่ในภายหลังอีกครั้ง?

ส่วนข้อมูลนี้ จะจริงเท็จแค่ไหน อีกไม่นานสาธารณชนคงจะได้รับทราบคำตอบที่ชัดเจนในเร็วๆ นี้

แต่ถ้าข้อมูลนี้ "ไม่เป็นจริง" ขอให้ "พล.อ.ประยุทธ์" หัวหน้า คสช. ประกาศออกมาชัดๆ ดังๆ เลยว่า "คสช.จะไม่สืบทอดอำนาจ และไม่ประสงค์จะรับตำแหน่งนี้"

"เพราะเมื่อท่านพูดเราจะฟัง เมื่อท่านลงมือทำเราจะเชื่อถือ"

ooo

โดย บรรจบ ขุมทอง

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวว่า โค้งสุดท้ายของการร่างรัฐธรรมนูญทำให้เห็นโรดแม็พของจริงว่า
การยึดอำนาจคราวนี้
ทำเพื่อสร้างกลไกคุมอำนาจต่อเนื่อง
ไปอีกหลายปีทั้งเปิดช่องนายกฯ คนนอก ตั้งกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูป
ให้อำนาจ ครม.แต่งตั้งส.ว.สรรหา 123 คน และมีกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติซึ่งล้วนเป็นการสถาปนาอำนาจรัฐเหนืออำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยเฉพาะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปฯนั้น เท่ากับต่อท่อให้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญเข้ามาแฝงตัวในระบบ หากพิจารณาจากองค์ประกอบและที่มาของกรรมการชุดนี้ ก็ประเมินได้ว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่กับรัฐบาลเลือกตั้ง และสามารถจัดการกับรัฐบาล ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการได้ทันทีที่โอกาสมาถึง

(ผมโพสต์ข้อมูลไว้ให้ในโพสต์
ก่อนหน้านี้แล้วครับ
จะตั้งให้ไอ้เหล่ คุมประเทศไปอีก5ปี )

นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า
การอ้างว่าให้อำนาจพิเศษกับกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปฯเพื่อใช้แก้วิกฤตินั้น เป็นคำอธิบายที่ขัดกับหลักสากล เพราะในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายจะไม่มีสถานการณ์ที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ แต่ในประเทศไทย บางองค์กรและบางบุคคลที่ควรทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหรือตามคำสั่งของรัฐบาล กลับเป็นฝ่ายร่วมสร้างวิกฤติ เพื่อเปิดช่องให้เกิดการกระทำที่อ้างว่าแก้วิกฤติ แต่ความขัดแย้งยังคงอยู่ และขยายตัวมากขึ้น ารัฐธรรมนูญออกมาแบบนี้ก็น่าห่วงว่าความขัดแย้งใหญ่จะรออยู่ข้างหน้าและคสช.ต้องรับผิดชอบกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้บทเรียนของการรัฐประหารซึ่งถูกกดดันอย่างหนักจากนานาชาติ ทำให้เครือข่ายอนุรักษ์นิยมต้องออกแบบวิธีใหม่ในการสกัดกั้นพัฒนาการของฝ่ายเสรีนิยม และผลสรุปคือสูตรรัฐประหารสำเร็จรูปที่บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้

"รู้อยู่แล้วว่างานของแม่น้ำ 5 สายทุกเรื่องต้องตามใจแป๊ะ แต่นึกไม่ถึงว่าคณะเนติบริกรจะตามใจกันเลยเถิดจนรัฐธรรมนูญมีหน้าตาคล้ายแป๊ะขนาดนี้อย่าคิดง่ายๆ แค่เอารัฐธรรมนูญมาโชว์ว่ามีแล้วก็จบคำว่าประชาธิปไตยเป็นภาษาสากลที่ทั่วโลกให้ความหมายตรงกันเมื่อเผด็จการอ้าปาก ประชาชนก็เห็นถึงไส้ติ่งแล้ว"นายณัฐวุฒิ กล่าว.

จะตั้งให้ไอ้เหล่ ควบคุมประเทศไปอีก 5 ปีในตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ และ รัฐประหารรูปแบบใหม่

ที่ไม่ผิดกฏหมาย !

ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ มีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง
หรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลทาง
นิติบัญญัติหรือในทางบริหาร ให้ถือว่า คำสั่งดังกล่าว

เป็นคำสั่งและการกระทำ
ที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้
และถือเป็นที่สุด

"ตัวอย่างสำหรับการใช้มาตรานี้ เช่น หากเกิดการชุมนุมขึ้นหลายพื้นที่ จนกลายเป็นจราจล รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง
ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ตำรวจ ทหาร ก็ยังเอาไม่อยู่
ถือว่า กลไกทางกฎหมายตามปกติ
ไม่สามารถใช้ได้แล้ว

กรรมการยุทธศาสตร์ก็ต้องมาใช้อำนาจตามมาตรานี้ ซึ่งขอบเขตของอำนาจตามมาตรานี้ มีไว้เพื่อทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

โดยไม่มีความผิด !
เพราะเป็นคำสั่งและการกระทำ
ที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

อำนาจของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ว่า

หากคณะรัฐมนตรีไม่มีเสถียรภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศได้ กรรมการยุทธศาสตร์มีมติคะแนนเสียง

ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็น
สำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้รับการปรึกษากับ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุดแล้ว เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

นี่คือรัฐประหารรูปแบบใหม่ !

สำหรับโครงสร้าง
กรรมการยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน
และกรรมการไม่เกิน 22 คน ประกอบด้วยกรรมโดยตำแหน่งได้แก่
ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา
นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ซึ่งเลือกกันเองประเภทละ 1 คน และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 11 คน ซึ่งแต่งตั้งตามมติรัฐสภา จากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการปฏิรูปด้านต่างๆและการสร้างความปรองดอง โดยมีอำนาจหน้าที่เสริมสร้างการปฏิรูป

และกำกับการสร้างความปรองดอง และระงับเหตุที่อาจนำไปสู่
การเกิดความรุนแรง


บรรจบ ขุมทอง