วันพุธ, กุมภาพันธ์ 03, 2559

ดูท่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ ประชาชนจะต้องกระเดือกเข้าไปให้ได้ ไม่งั้น คสช. คงจับยัดปาก




ดูท่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ ประชาชนจะต้องกระเดือกเข้าไปให้ได้ ไม่งั้น คสช. คงจับยัดปาก

พอใครต่อใครให้ความเห็นค้าน พวกตะหาน คสช. ก็ออกมาคำรามสามห่าวกันใหญ่

โฆษกวินธัย (สุวารี) เบาหน่อย “คสช.ไม่เคยห้ามวิจารณ์หรือแสดงความเห็น เพียงแต่การให้ความเห็นของบางกลุ่มบางบุคคลมีลักษณะการใช้กริยาวาจาที่ดูรุนแรงผิดธรรมชาติ ดูไม่สร้างสรรค์ บางครั้งอาจมีลักษณะเหมือนจะปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังหรือเกิดขัดแย้ง ซึ่งอาจจะเป็นการทำลายบรรยากาศได้” (ผจก. ออนไลน์)




หัวหน้าที่สุด ‘ตุ๊ดตู่’ นั้นตามเคยของบุคคลิกภาพส่วนตัว (ชินซะแล้ว) คราวนี้ครบเครื่อง ทั้งจ้วงจาบ ก้าวร้าว หยาบคาย

“ทำไมเล่า...ไอ้hear...นี่ก็...เวลามันเล่นงานกูล่ะ”

‘จัญ’ โลงกว่าใครต้องพี่ใหญ่โป๊ยก่าย “เรื่องรัฐธรรมนูญสามารถวิจารณ์ได้ แต่ช่วยวิจารณ์ให้ไพเราะหน่อย...




ไม่ได้ห้ามการณ์วิจารณ์ แต่ทำให้ดีและเป็นสากลก็แล้วกัน อย่าทำอะไรที่มายุ่งเกี่ยวกับงานของ คสช. เช่น อย่าปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง”

(http://prachatai.org/journal/2016/02/63844
และ http://www.matichon.co.th/news/22904)

มิน่าเมื่อวานถึงได้มีการนำตัวนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ไปปรับทัศนคติที่กองทัพภาค ๑ ซึ่งทั่นหัวหน้าสุดๆ ให้คำอธิบายไว้ว่าเพราะเหตุไร




“เขาทำผิดหรือไม่ แสดงความคิดเห็นแต่ดูถูกเหยียบย่ำผม ความเห็นแบบนี้มีหรือ ทำได้หรือไม่ ด่ารัฐบาลทุกวันผิดหรือเปล่า...ผิดก็ดำเนินการทางกฎหมาย กฎหมายประกาศไว้ก่อนแล้ว ถ้าคุณแบบนี้โกรธหรือไม่ ผมไม่มีสิทธิปกป้องตัวผมเองหรืออย่างไร...ดูถูกดูแคลนกันทุกคน”

นึกไม่ถึงว่าคนที่เก่งไปทุกอย่างทั้งหู ตา ปาก จะ ‘ผิวบาง’ ขนาดนี้ สู้พี่ใหญ่ไม่ได้ คำรามฟอด

“ถ้าพูดมากก็จะเรียกมาทุกวัน เพราะขอร้องแล้วว่าให้ใช้วาจาดีๆ อย่าเสียดสี ทั้งนี้ไม่ได้เป็นการปรามใคร”

แล้วที่หัวหน้าบอกว่า “กลายเป็นต่างชาติ ประเทศไทยปิดกั้นสื่อ ไหนปิดตรงไหน” ก็คงตรงนี้มั้ง

“Very good news for those who hate me, the Ministry of Foreign Affairs refused me [sic] renewal of my visa, work permit and press card after 16 years,”

สเต็ฟเฟน เพเรย์ นักเขียนการ์ตูนอิสระที่ใช้นามว่า ‘Stephff’ ซึ่งผลงานการ์ตูนล้อการเมืองของเขาปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นมานมนาน เปิดเผยทางทวิตเตอร์ว่าเขาถูกระงับการต่อวีซ่าทำงานในประเทศไทยเสียแล้ว

กระทรวงต่างประเทศออกมาปฏิเสธว่าการงด ไม่ยอมต่ออายุวีซ่าให้เขาเนื่องจากปัญหาคำร้องไม่เรียบร้อย ไม่เกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด

(http://www.khaosodenglish.com/detail.php?newsid=1454474948)

แต่บรรดาคนในแวดวงสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำไทย คงยากที่จะเชื่อคำแก้ตัวของ กต.

หรือต่างประเทศโดยรวมก็น่าจะไม่ค่อยเชื่อใจคณะทหารไทยเท่าไรเลย

ดังรายงานข่าวของ น.ส.พ. กรุงเทพธุรกิจ เครือเนชั่น วันนี้ (ที่ ๓ กุมภา) แนะว่า “อุปทูตสหรัฐฯ เยือนเชียงใหม่ พบปะกับนักเคลื่อนไหวสตรี และจ่อพบ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ถึงเรื่องการปฏิรูปกองทัพ-ทหาร”

(http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/685437)

ทั้งที่เนื้อข่าว ไม่พบว่ามีการพบปะดังกล่าว แต่การคาดเดาเอามาเขียนเช่นนั้น อาจแสดงถึง indications บางอย่างในท่าทีล่าสุดของคณะทหารไทย

พอสอง ป. ช่วยกันจวกคนค้านร่าง รธน. เสร็จสรรพ จากนั้นก็ปรากฏโครงการพีอาร์ขนานใหญ่ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยจะต้องรับประทานสารคดีชุดใหม่ นอกเหนือจากรายการพร่ำทุกคืนวันศุกร์

ทวี้ตจาก @KAO_VoiceTV21 เผยว่า “เกรงกระแสวิจารณ์ร่าง รธน.ทำ ปชช.เข้าใจผิด คสช.สั่งวิทยุ/ทีวีถ่ายทอดรายการ ‘แกะกล่องรัฐธรรมนูญ’ เช้าเย็นหลังเคารพธงชาติ จำนวน ๒๓ ตอน เริ่มวันนี้”

เอาแล้วสิ ที่หวั่นๆ กันอยู่ว่า คสช. มอบหมาย ‘มีชัย’ จัดการเอารัฐธรรมนูญกรอกปากประชาชนเพื่อจะได้อยู่ในกำกับคณะทหารไปอีก ๒๐ ปี โดยมี คสช. ดูแลอีกสัก ๔ ปี เห็นทีจะเป็นจริง ดังที่ประวิตร วงษ์สุวรรณ พูดไว้ตอนหนึ่ง

“รัฐธรรมนูญนี้มีความสำคัญ ซึ่งต้องคิดว่าระยะนี้เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน รัฐธรรมนูญจะต้องเขียนให้เป็นสากลแน่นอน ต้องทำให้เกิดการปฏิรูปให้ได้ภายใน ๒๐ ปี ซึ่งระยะเปลี่ยนผ่าน ๔ ปีนี้”

ถ้าเช่นนั้นประชาชนทั้งหลายควรต้องมาดูกันอีกครั้งว่ารัฐธรรมนูญที่ คสช.กำลังพยายามจะกรอกปากนี้เป็นอย่างไร

จากข้อเขียนของ อธึกกิต แสวงสุข เล่าว่าไปสัมภาษณ์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เกี่ยวกับร่าง รธน.ฉบับมีชัย ได้รายละเอียดมาแย้มไว้คร่าวๆ ก่อน ดังนี้




“อ.วรเจตน์ให้ข้อสังเกตว่าร่างนี้ แยกศาล รธน.ออกจากหมวดศาล มาอยู่หมวด ๑๑ แล้วหมวด ๑๒ เป็นองค์กรอิสระ

ซึ่งจะเห็นพัฒนาการการยึดอำนาจใน รธน. เพราะปี ๔๐ ศาล รธน.อยู่ในหมวดศาล องค์กรอิสระกระจายในหมวดต่างๆ เช่น ปปช.อยู่หมวดการตรวจสอบ กกต.หมวดเลือกตั้ง พอปี ๕๐ เอาองค์กรอิสระมารวม

ปีนี้ เอาศาล รธน.โดดเด่นขึ้นเหนือทุกศาล และรวมองค์กรอิสระอย่างชัดเจน มี ม.๒๑๑ เป็นคำประกาศโรดโชว์สโลแกน ในขณะที่มีชัยพูดชัดว่า ศาล องค์กรอิสระ ไม่ต้องยึดโยงอำนาจประชาชน (อำนาจที่สี่)

อำนาจศาล รธน.นอกจากยึด ม.๗ ไปครอง ยังล้มรัฐบาล รัฐสภาได้ง่ายๆ ในหลายมาตรา เช่น ม.๑๓๙ เรื่องงบประมาณ ซึ่งอ่านแล้วคลุมเครือมาก น่าจะหมกเม็ดเอาไว้ไปร่าง พรบ.การเงินการคลัง

สำหรับ ครม.ให้ดูมาตรา ๑๕๕,๑๖๕,๑๖๒,๑๖๓ จะเห็นว่าสามารถล้มรัฐบาล ตัดสินให้นายกฯ และ รมต.พ้นตำแหน่งได้ง่ายๆ

มาตรา ๑๕๕ คุณสมบัติรัฐมนตรี (๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ (๕) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

มาตรา ๑๖๕ เอามาตรา ๗๗ มาใช้ ให้ ส.ส.หรือ ส.ว.๑ ใน ๑๐ เข้าชื่อร้องศาลได้ว่านายกฯ หรือรัฐมนตรีขาดคุณสมบัติ

ถ้าเป็นนายกฯ ขาดคุณสมบัติ ครม.ไปทั้งคณะตาม ๑๖๒,๑๖๓ (ดู ๑๖๓ จะยิ่งเห็นชัดว่าเขียนถึงกรณีนายกฯ ตกเก้าอี้เพราะ ๑๕๕(๔) (๕) ไว้ด้วย

จำสมัครทำกับข้าวได้ไหมครับ ไอ้นี่แม่-ยิ่งกว่าอีก เพราะตีความได้กว้างเป็นมหาสมุทร อะไรคือ ‘มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์’ (ทุจริตก็ต้องโดน ปปช.โดนศาลฎีกาฯ ไปแล้วสิ ฉะนั้นนี่ไม่ใช่เรื่องทุจริต) แล้วอะไรคือมาตรฐานทางจริยธรรม

ทั้งสองข้อมันคือความไม่เหมาะสม ‘ลมเพลมพัด’ แล้วแต่ทัศนะของคนตีความ ว่าชอบหรือเกลียดรัฐบาลไหน เป็นการให้อำนาจศาลอย่างมาก

แค่โดนกล่าวหาว่าทำอะไรขัดหูขัดตาผู้ลากมากดีคนชั้นกลางชาวกรุง แม่-ปลดได้ทันที (ตัวอย่างกรณีอีปูโฟร์ซีซัน โดนแหงเลย แต่ตุลาการตั้งลูกเป็นเลขาฯ ส่งไปเรียนนอกกลับรอด)”